วันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็น
เทคโนโลยีทางชีวภาพที่มีการนำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชให้มีปริมาณมากๆ ได้พืช
พันธุ์ดีที่ปลอดโรคและให้ผลผลิตสูง
ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ใช้ชิ้นส่วนของพืช
ชื้นส่วนที่เรานำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ลำต้น ตายอดตาข้าง ก้านช่อดอก ใบ ก้านใบ มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ภายใต้สภาพที่ควบคุมเรื่อง
ความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เมื่อชิ้นส่วนนั้นเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์
มีทั้งส่วนใบ ลำต้นและรากที่สามารถนำไปปลูกในสภาพธรรมชาติได้
ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สามารถผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็วและต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรคและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่คือ
มีลักษณะตรงตามพันธุ์ด้วยการใช้เทคนิคของการเลี้ยงจากชิ้นตาพืชให้พัฒนาเป็นต้นโดยตรง
และมีขนาดสม่ำเสมอ
จึงให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้คราวละมากๆ พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี
แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง ลูกโตให้หวีต่อเครือมากและตกแต่งชิ้นส่วนพืช
ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกเรื่อง กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย
เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่และปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
กล้วยเป็นพืชที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมานาน ดังนั้น
กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ทำการคัดสายพันธุ์กล้วยที่มีคุณภาพดีเพื่อนำมาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและส่งเสริมแก่เกษตรกรที่มีความต้องการปลูกกล้วยพันธุ์ดี
มีความต้านทานโรค รสชาติดีและให้ผลผลิตได้อย่างพร้อมเพรียงกัน
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง
ลูกโตให้หวีต่อเครือมาก
2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์
95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช
4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน
10 -15 นาที
5. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ากลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว
3 ครั้ง
6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์
7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี
รหัส แล้วนำไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
การขยายพันธุ์กล้วย
1.การแยกหน่อ โดยการขุดแยกหน่อที่แทงจากต้นแม่ขึ้นมาขยายพันธุ์ต่อ
2. การผ่าหน่อ โดยการขุดหน่อที่มีอายุประมาณ
2-3 เดือน นำมาผ่าออกเป็น 4-6 ชิ้นต่อหน่อแล้วนามาเพาะในวัสดุเพาะชำ
3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการขยายพันธุ์ที่สามารถทำให้ได้ต้นกล้าจำนวนมาก
การคัดเลือกต้นพันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อควรมีลักษณะที่ดี แข็งแรง ต้านทานโรคแมลงรบกวน
ลูกโต จำนวนหวีต่อเครือมาก เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดีตามต้องการและจำนวนมากคุ้มค่าต่อการลงทุนโดยใช้ระยะเวลาประมาณ
6-8 เดือน นับตั้งแต่นำหน่อเข้าห้องปฏิบัติการ เมื่อได้ต้นกล้าตามจำนวนที่ต้องการแล้ว
จึงนำออกมาอนุบาลภายในโรงเรือนประมาณ 60 วัน
การปลูกและการดูแลรักษา
1. ควรเตรียมหลุมปลูก กว้างxยาวxลึก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา
1 กิโลกรัม
ต่อต้น
2. ระยะการปลูก กล้วยน้ำว้าใช้ระยะ 3x3 เมตร จะปลูกได้ 200 ต้นต่อไร่ แต่กล้วยหอมทองใช้ระยะ
2x2 เมตร ปลูกได้ 400 ต้นต่อไร่
3. การให้น้ำในระยะแรกควรให้น้ำวันเว้นวัน หลังจากกล้วยสามารถตั้งตัวได้แล้วจึงเปลี่ยนเป็นสัปดาห์ละ
1 ครั้ง
4. การใส่ปุ๋ย ในระยะแรกนิยมใช่ปุ๋ยคอกและหลังจากการปลูกได้
2 เดือน จึงใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา
60 กรัมต่อต้น ทุกเดือนหลังจากกล้วยออกปลีแล้ว จะใส่ปุ๋ยสูตร
13-13-21 อัตรา 500 กรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่
2 ครั้ง หลังจากครั้งแรก 1 เดือน
5. การกำจัดวัชพืช สามารถกาจัดได้หลายวิธี คือ
-วิธีกล ได้แก่การถอน ตายหรือการถากด้วยจอบ ควรทาการกาจัดก่อนที่วัชพืชจะออกดอก
-วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซมที่มีระบบรากตื้นและสามารถ
ใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้ เช่นพืชตระกูลถั่ว
-ใช้วิธีคลุมดินโดยคลุมหน้าดินด้วยใบกล้วยหลังการตัดแต่งใบ
ใช้ฟางข้าวคลุมตั้งแต่เริ่มปลูก
6. การตัดแต่งหน่อ หลังจากการปลูกกล้วยได้ 3-4 เดือนให้ตัดหน่อทิ้งจนกว่ากล้วยจะเริ่มออกปลีหลังจากกล้วยมีอายุ 7 เดือน จึงเริ่มไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยหน่อที่1
และที่ 2 ควรมีอายุห่างกัน 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ตรงข้ามกัน หากหน่อที่ตัดมีขนาดใหญ่มาก
ให้ใช้วิธีการทำลายโดยหยอดน้ำมันก๊าดลงบนหยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา
7. การตัดแต่งใบจะเริ่มตัดแต่งใบ ในช่วงกล้วยอายุประมาณ
5 เดือน หลังจากการปลูกโดยเลือก ตัดใบที่แก่เป็นโรคออกให้เหลือ
9-12 ใบ/ต้น
8. การตัดปลี ให้ทาการตัดปลีกล้วยทิ้งหลังจากปลีบานต่อไป
จนหวีตีนเต่าอีก 2 ชั้น เพื่อสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว
9. การค้ากล้วย นิยมค้าในกล้วยหอมเป็นส่วนใหญ่
เพื่อป้องกันการหักกลางลาต้น หลังจากการตกเครือ ควรค้ำ บริเวณเครือหรือใช้ไม้ดามลาต้นโดยตรง