วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ



ประวัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


                     

               Gottlieb Haberlandt ชาวเยอรมัน เป็นคนแรกที่เริ่มทำการทดลองเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของเทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช Haberlandt (1898) ได้ทำ การทดลองโดยแยกเอาเซลล์จากใบพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ และตั้งสมมุติฐานว่าเซลล์พืชเพียงเซลล์เดียวที่นำมาเลี้ยงสามารถจะแบ่งตัวและเจริญเติบโตไปเป็นพืชต้นใหม่ที่สมบูรณ์ ทุกประการได้ เช่นเดียวกับพืชต้นเดิม แต่เขายังไม่สามารถเลี้ยงเซลล์พืชให้เป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ได้ตามสมมุติฐาน เนื่องจากเซลล์ที่นำมาทำการทดลองนี้แก่เกินไปและสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงยัง ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดีในปี 1902 เขาก็สามารถเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้สำเร็จ และมีความเชื่อมั่นว่าจะต้องมีวิธีการทำให้เซลล์ที่เลี้ยงอยู่นั้นสามารถกลับกลายเป็นพืชทั้งต้นได้        ในระยะ 30 ปีต่อมาหลังจากสมัยของ Haberlandt งานด้านการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพัฒนาไปน้อยมาก แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเลี้ยง เนื้อเยื่อพืชจนกระทั่ง White (1934) ได้ทำงานด้านการเลี้ยงเนื้อเยื่อของรากเป็นผลสำเร็จ โดยทดลองใช้อาหารที่ประกอบด้วยสารอนินทรีย์ น้ำสกัดยีสต์ และน้ำตาลทราย ต่อมาในปี 1937 เข้าค้นพบว่ากลุ่มวิตามินบีมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อราก กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงเนื้อเยื่อของรากพืชอีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มของ Street งานของกลุ่มนี้จะช่วยอธิบายบทบาทของสารเคมีโดยเฉพาะพวกวิตามินต่าง ๆ ต่อการสร้างราก และความสัมพันธ์ของการเกิดรากและยอดได้อย่างดี





                  Winkler ได้ค้นพบว่าออกซิน คือ IAA (indol acetic acid) เป็นสารช่วยกระตุ้น การเจริญเติบโต ดังนั้น Gautheret (1937, 1938) จึงทดลองเลี้ยงเนื้อเยื่อแคมเบียมของต้นหลิว (Salix cambium) ใน Knop’s solution โดยใส่น้ำตาลกลูโครส วิตามินบี 1 cysteine hydrochloride และ IAA ลงไปด้วย พบว่าเนื้อเยื่อของหลิวมีการแบ่งตัวและเจริญต่อไปได้ ระยะหนึ่งในอาหารที่ใช้เลี้ยง จนกระทั่งในปี 1939 เขาจึงประสบความสำเร็จในการเลี้ยง ส่วนแคมเบียมของแครอทอย่างแท้จริง ซึ่งแต่นั้นมา การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ White ซึ่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทูเมอร์ (tumors) ของยาสูบที่ได้มาจากลูกผสมระหว่าง Nicotiana glauca N. langsdorffii ต่างรายงานความสำเร็จ พบว่ามีกลุ่มเซลล์พองฟูออกมาจากเนื้อเยื่อเดิม เรียกกลุ่มเซลล์ที่เกิดใหม่ว่าแคลลัส ซึ่งแคลลัสที่ได้นี้สามารถเลี้ยงไปได้เรื่อย ๆ เมื่อมีการย้ายไปยังอาหารใหม่ สาเหตุที่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประสบผลสำเร็จ เนื่องจากค้นพบสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช โดยสารควบคุมการเจริญ-เติบโตชนิดแรกที่ค้นพบคือ IAA ซึ่งเป็นออกซิน (auxin) ชนิดหนึ่งที่ทำให้การเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืชในหลอดทดลองได้ผล ต่อมาภายหลังมีการค้นพบไคเนทิน (kinetin) ซึ่งเป็น ไซโตไคนิน (cytokinin) ชนิดหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการเจริญได้ดียิ่งขึ้น นับจากนั้นมาความก้าวหน้าทางการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชก็ได้แพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการเอาหลักการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชไปประยุกต์ใช้ทางด้านการเกษตร การขยายพันธุ์พืช การปรับปรุงพันธุ์พืช     
ทางพฤกษศาสตร์ ชีวเคมี โรคพืช ตลอดจนทางด้านพันธุวิศวกรรม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น