ลักษณะของเห็ดสกุลนางรม
1. หมวกดอก (cap หรือ pileus) มีลักษณะคล้ายหอยนางรม หมวกดอกมีผิวเรียบกลางหมวกดอกมีลักษณะเว้าเป็นแอ่ง ขอบกลีบดอกโค้งลงด้านล่างเล็กน้อยดอกที่ โตเต็มที่หลังดอกมีลักษณะเป็นครีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-15 เซนติเมตร มีสีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดเห็ดด้านล่างของหมวกดอกจะเชื่อมติดกับก้านดอกหรือเป็นเนื้อเดียวกัน
2. ก้านดอก (stalk) เป็นส่วนชูดอกขึ้นไปในอากาศ ก้านดอกยาวปานกลางและเจริญเข้าหาแสงสว่าง ก้านดอกเห็ดอยู่ค่อนไปข้างหนึ่ง ไม่อยู่กึ่งกลางของหมวกเห็ด ก้านโค้งงอเหมือนพัดเล็กน้อย มีความกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-10 เซนติเมตร
3. ครีบดอก (gill) มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ สีขาวหรือสีเทา บริเวณครีบดอกเป็นแหล่งสร้างสปอร์สปอร์มีสีขาวอมม่วงอ่อนรูปร่างกลมรี มีติ่งเล็กๆที่ปลายข้างหนึ่ง ขนาด 3 x 4 ถึง 8 x 12ไมโครเมตร เห็ดนางรมขึ้นอยู่เป็นกลุ่มและบางชนิดอาจขึ้นเป็นดอกเดี่ยว มีโคนก้านดอกติดกันและมีหมวกเห็ดซ้อนกันเป็นชั้นๆ และสามารถงอกออกมาจากขอนไม้ กิ่งไม้ผุบนต้นไม้ยืนต้นหรือถุงพลาสติกที่ใช้เพาะได้
วงจรชีวิตของเห็ดสกุลนางรม
คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดสกุลนางรม
1. เห็ดนางรมจะมีโปรตีนสูงกว่าพืชผักอื่น ๆ ยกเว้น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา2. มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
3. มีกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
4. เห็ดนางรมให้พลังงานน้อย
5. มีวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 1บี2 วิตามินซี ไนอาซิน ปริมาณแตกต่าง กันขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด
6. มีส่วนประกอบของเยื่อใย (fiber) และคาร์โบไฮเดรต
7. เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น โปตัสเ ซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ในปริมาณแตกต่างกันไป ในเห็ดสกุลนางรมจะมีปริมาณทองแดงมากกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ
คุณค่าทางยาของเห็ดสกุลนางรม
1. เบต้า-กลูแคนในผนังเส้นใยของเห็ดจะมีสารเบต้า-กลูแคน(B-(1-3)glucan) หรือพลูโรทินโพลีแซ็คคาไรด์(Pleurotin Polysaccharides) เป็นโพลีแซคคาไรด์ หรือน้ำตาล ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเรามากมายคือ
– มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
– ต่อต้านโรคมะเร็งและลดอนุมูลอิสระ
– กระตุ้นให้แผลหายเร็ว โดยจะไปเพิ่มประสิทธิภาพของการเพิ่มคอลลาเจน ให้กับบริเวณเนื้อเยื่อที่เป็นแผล
– เพิ่มการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาว
– ต่อต้านแบคทีเรียพวกแกรมบวก ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น ระงับอาการปวดตามข้อ
2. ไคติน-ไคโตซาน
ไคติน-ไคโตซานมีบทบาทในการเป็นเส้นใยอาหาร เส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์เป็นสารพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีรสหวาน ไม่ละลายน้ำ ไม่ย่อยในกระเพาะอาหารของคน ไม่ให้พลังงานหรือสารอาหารแก่ร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย ช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ท้องผูก ริดสีดวงทวาร โรคหัวใจ โรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด รักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ในประเทศญี่ปุ่นมีการเติมไคโตซานลงในอาหารต่างๆหลากหลายชนิด เช่น คุกกี้ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ บะหมี่ และน้ำส้มสายชู เป็นต้น
3. กรดโฟลิก
มีกรดโฟลิกสูงกว่าพืชผักและเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยปรับสภาพความดันโลหิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น