วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิธีการปลูกสตอเบอรี่

การปลูกสตอเบอรี่


วิธีการปลูก
                           จะเริ่มปลูกต้นแม่พันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม ปลูกแบบแถวเดี่ยวห่างจากสันแปลงด้านระดับสูงประมาณ 15 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับวางถุงเพาะชำต้นไหลจากสายไหลที่ทอดลงมา เว้นระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 80 – 90 ซม. ในระยะแรกต้องบำรุงต้นแม่พันธุ์ให้แข็งแรงพร้อมทั้งตัดไหลที่ออกมาทิ้งให้หมด เพื่อให้ต้นแม่พันธุ์แตกกอประมาณ 4 -5 ต้น/กอ ประมาณเดือนกรกฎาคมจึงเริ่มปล่อยให้ต้นแม่พันธุ์แตกไหลได้ตามปกติ หลังจากที่ต้นไหลโตและเริ่มมีตุ่มรากเกิดขึ้น ให้นำถุงพลาสติกขนาด 3 x 5 นิ้ว ที่ใส่วัสดุปลูกจะเป็นดินล้วนหรือดินผสมก็ได้มารองรับต้นไหล แล้วใช้ไม้ไผ่เล็กๆพับกลางเสียบยึดสายไหลให้ติดกับดินในถุงพลาสติก รอจนต้นไหลสร้างรากและแข็งแรงดี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน จึงตัดต้นไหลออกจากต้ตแม่พันธุ์โดยตัดสายไหลที่เจริญมาจากต้นแม่ห่างจากต้นไหลประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันโรคเข้าต้นไหลและใช้ในการจับระดับปลูก ส่วนไหลด้านปลายให้ตัดชิดต้นไหล

พันธุ์สตรอเบอรี่
         การ ปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่ายในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”

ลักษณะทั่วไป
       เป็น ไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”

ขั้นตอนการขยายต้นสตรอเบอรี่แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้
        1.ตัดเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายไหลความยาว 0.5 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า นำไปเลี้ยงในสูตรอาหารวุ้นสำหรับสตรอเบอรี ถ้าหากใช้เนื้อเยื่อเจริญที่มีความยาวหรือขนาดใหญ่กว่านี้จะทำให้มีเปอร์เซนต์การที่ติดเชื้อไวรัสสูงขึ้น
        2.ประมาณอีก 60 วันเนื้อเยื่อเจริญก็ปรากฏเป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ (Callus) ทำการแบ่งและย้ายลงในอาหารวุ้นใหม่ (สูตรแตกกอ) และขวดที่ใหญ่ขึ้น
        3.ประมาณอีก 40-50 วันจะเห็นเป็นส่วนลำต้นที่มีก้านใบและใบเล็กๆเป็นจำนวนมาก ให้แบ่งแยกออกเป็นต้นๆ ย้ายลงในขวดที่ใหญ่ขึ้นอีกในอาหารวุ้นใหม่ (สูตรเร่งให้เกิดราก) ควรจัดให้มีระยะห่างพอสมควรเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี (อาจทำการแบ่งต้นจากระยะนี้ไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มจำนวนต่อไปตามข้อ 2 ก็ได้
        4.ประมาณอีก 20 วันนำต้นออกจากขวดล้างให้สะอาดปราศจากวุ้น และย้ายลงปลูกในกระบะชำซึ่งใช้ Vermiculite ใหม่ๆเป็นวัสดุปลูก ครอบด้วยโครงพลาสติกเพื่อให้มีความชื้น 80-100% อุณหภูมิคงที่       22-25 ๐C และพรางแสงให้ตลอดช่วงภายในโรงเรือนกันแมลง
5.ประมาณอีก 30 วันย้ายต้นเนื้อเยื่อเหล่านี้ลงในกระถางเล็กที่ใส่ดินผสมวัสดุปลูกผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว และดูแลภายในโรงเรือนกันแมลง


  ต้นแม่พันธุ์แจกเกษตรกร
          เมื่อต้นแม่พันธุ์เหล่านี้ (Foundation stock plant ) เจริญเติบโตได้ขนาดพอเหมาะและมีความแข็งแรงแล้ว ก็สามารถทำการขยายไหลแบบวิธีปกติ(หลังจากผ่านกระบวนการทดสอบโรคไวรัส)ในกระบะที่อบดินภายในโรงเรือนกันแมลง เพื่อให้ได้ต้นไหลรุ่นที่หนึ่ง และนำต้นไหลที่ได้ไปขยายพันธุ์ในแปลงภายนอกโรงเรือนต่อไปอีกสองรุ่น ต้นไหล (Certified plant) ที่ได้หลังจากนี้ เกษตรกรก็สามารถนำไปใช้เป็นต้นแม่พันธุ์เพื่อขยายเป็นต้นสำหรับปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิต


                                                     ต้นที่ขยายจากต้นแม่พันธุ์ปลอดโรค

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยการติดตา


                   วิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยการติดตา

        สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมจะมาบอกถึงวิชาการขยายพันธุ์พืชซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาที่เราเคยเรียนกันมาแล้วเมื่อสมัยยังเป็นเด็ก คนที่สนใจ อาชีพเกษตรกรรม ก็ต้องรู้วิธีขยายพันธุ์เหล่านี้ด้วยเช่นกันซึ่งเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่ต้องใช้เมล็ด โดยการขยายพันธุ์แบบที่ไม่ต้องใช้เมล็ดนั้นจะมีด้วยกันอยู่ไม่กี่อย่าง ทาบกิ่ง ต่อกิ่ง ปักชำ ตอนกิ่ง ติดตา ซึ่งแต่ละวิธีก็สามารถใช้กับพืชได้หลากหลายแล้วแต่สถานการณ์และความเหมาะสมของพืชที่เราจะทำการขยายพันธุ์ด้วย

องค์ประกอบหลักๆในการขยายพันธุ์โดยที่ไม่ต้องใช้เมล็ดมีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือ

1.กิ่งพันธุ์ ซึ่งต้องได้มาจากต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพและมีความโดดเด่นในสายพันธุ์ของตัวเอง
2.ต้นตอ คือต้นไม้ที่จะเอากิ่งพันธุ์ไปปลูกต่อเพื่อให้ได้ต้นที่แข็งแรงต้นตอจะต้องเป็นต้นตอที่สมบูรณ์ด้วยเช่นกันซึ่งการติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง จะใช้ต้นตอต้นอื่นก็ได้ เรียกว่าการอาศัยรากจากต้นอื่น แต่ถ้าเป็นแบบปักชำ และตอนกิ่งเราจะเรียกว่า อาศัยรากของตัวเองเป็นต้นตอ




วิธีทำการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา

เครื่องมือที่ต้องมีในการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เมล็ด

กรรไกรตัดกิ่ง
มีดขยายพันธุ์หรือมีดคัดเตอร์
ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ หรือทรายหยาบ
ถุงพลาสติกใส
เชือกฟาง
ฮอร์โมนเร่งการออกราก
       ใช้มีดกรีดเปลือกของต้นไม้อย่างประณีต

วิธีการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา

การขยายพันธุ์ด้วยการติดตานั้นจะมีลักษณะในการทำคล้าย ๆกับกับการตอนกิ่ง เพียงแต่การติดตานั้นจะควั่นเปลือกของกิ่งต้นพันธุ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การติดตาเป็นการใช้ตาใบจากิ่งมาทำเป็นการติดกับต้นตอ โดยไม่ใช้กิ่งเหมือนกับการต่อกิ่ง เป็นการประหยัดในกรณีที่มีกิ่งพันธุ์ดีน้อย ตานั้นจะเจริญไปเป็นยอดใหม่

วิธีการติดตานี้เหมาะสำหรับพืชที่อายุน้อยหรือกิ่งเล็ด นิยมในการขยายพันธุ์ไม้ผลซะเป็นส่วนใหญ่



แล้วก็เอาตามาติดซึ่งต้องเป็นตาที่ได้มาจากต้นพันธุ์ที่ดี


วิธีการติดตาแบบตัวที

               วิธีการขยายพันธุ์แบบ ติดตา ให้เป็นรูปตัวทีนั้นจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการติดตาแบบรูปโล่ก็ได้เพราะลักษณะของแผลที่ทำการกรีดจะมีลักษณะคล้ายกับโล่และรูปตัวทีอย่างแรกในการติดตาก็คือต้องเลือกต้อตอที่สมบูรณ์ซะก่อน

1.เลือกต้นตอที่สมบูรณ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดและมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปีมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วหรือถ้ากะ ๆก็ประมาณแท่งดินสอนั่นเอง
2.กรีดต้นตอดามยาวลงมาโดยมีความยาวประมาณ 1 ถึง 1.5 เซนติเมตร และกรีดในแนวขวางเหนือแผลที่เรากรีดไว้แล้วเล็กน้อย
3.หลังจากนั้นก็ใช้มีดเซาะเปลือกที่เรากรีดไว้ออกมาในทางยาวโดยเซาะออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นวิธีนี้ต้องค่อย ๆทำใจเย็น ๆนะครับ
4.จากนั้นเลือกกิ่งตาที่สมบูรณ์ เป็นกิ่งตาใบ โดยส่วนมาแล้วจะเลือกกิ่งต้นพืชที่อยู่ด้านในเพราะว่าด้านนอกจะเป็นกิ่งดอกเสียมาก กิ่งตาที่ดีจะอยู่บริเวณกลางกิ่ง และโคนกิ่ง เฉือนตาออกมาเป็นแผ่นรูปโล่ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา
5.นำแผ่นตาที่เราได้มาจากข้อ 4 มาสอดเข้าไปในร่องที่เราทำเตรียมไว้ในต้นตอซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัวที เมื่อสอดเข้าไปในร่องแผลต้นตอเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จัดให้แนบกับเนื้อไม้ให้สนิท อาจจะตัดส่วนของแผ่นตาที่เกินรอยแผลด้านบททิ้งก็ได้เช่นกัน
6.หลังจากนั้นก็เอาพลาสติกใสมาพันให้แน่นโดยการพันจะต้องพันจากล่างขึ้นบนเสมอเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าไป หากผ่านไป 2 ถึง 3 อาทิตย์แล้วตายังเขียวอยู่แสดงว่าการติดตาสมบูรณ์


http://www.thaiarcheep.com

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

   1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง 
   2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
   3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช
   4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10–15 นาที
   5. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง
   6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์
   7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปีรหัสแล้วนำไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป







ขั้นตอนการนำพืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกปลูก

           ก่อนเข้าถึงขั้นตอนการดูแลหรืออนุบาลพืชเนื้อเยื่อระยะต่างๆ ควรมีการปรับสภาพให้เริ่มเรียนรู้และค่อยๆ ปรับตัว
อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติได้ โดยเพิ่มความเข้มแสง ลดความชื้นในภาชนะลง อาจใช้วิธีนำขวดเนื้อเยื่อพืชออกมา
วางในสภาพอุณหภูมิห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกแต่ไม่ควรให้เนื้อเยื่อพืชได้รับแสงแดดโดยตรงในระยะเวลา 2-3 วันแรก
ตามลำดับ ดังนี้
             1.ปรับสภาพเนื้อเยื่อพืช 2-3 วัน ก่อนปลูกในสภาพอุณหภูมิห้องปกติที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
             2.นำพืชออกจากภาชนะที่ได้จากการเพาะเลี้ยงด้วยฟอร์เซบหรือปากคีบ
             3.ล้างอาหารวุ้นที่ติดอยู่บริเวณรากออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด
             4.นำต้นพืชแช่ในสารป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย เป็นเวลา 3-5 นาที ก่อนปลูก เพื่อป้องกันโรคต้นเน่าเนื่องจาก
พืชยังอ่อนแอต่อการทำลายของเชื้อโรค



     การปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 


                1. การเตรียมแปลงปลูก ควรไถดินตากไว้ประมาณ 7-15 วัน แล้วไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง เพื่อกำจัดศัตรูพืช และให้ ดินร่วนซุย สะดวกในการย้ายปลูกต้นหน่อไม้ฝรั่ง หากดินมีความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 6.0 ควรหว่านปูนขาวอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ในดินร่วนปนทราย หรืออัตรา 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ ในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย แล้วไถกลบ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2-4 ตันต่อไร่
               2. การปลูก เนื่องจากต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขยายกอเร็วกว่าต้นกล้าที่ได้จากการเพาะ จากเมล็ด ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับต้นกล้า ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ 80x150 เซนติเมตร การจัดการเพื่อความสมบูรณ์ของต้น
               1. การใส่ปุ๋ย
                   -ระยะย้ายปลูก ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 300-500 กรัมต่อหลุม เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น หน่อไม้ฝรั่ง แล้วดินหนา 3-5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้รากสัมผัสกับปุ๋ยโดยตรง
                   -ระยะการเจริญเติบโต เมื่อย้ายกล้าปลูกแล้ว 1 เดือน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และให้อีกทีทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-5-20 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ทุกเดือน เมื่อต้น หน่อไม้ฝรั่ง เริ่มให้ผลผลิต ควรพูนโคนทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันมิให้ดินปลูกบริเวณ
โคนต้นยุบตัวลง ซึ้งจะทำให้ ระบบรากตื้น และลำต้นล้มง่าย

             2. การให้น้ า ควรให้น้ าวันละ 1 ครั้ง หลังการย้ายปลูก และเปลี่ยนเป็น 3-5 วันต่อครั้ง หรือหากหน่อไม้ฝรั่งตั้งตัวได้แล้ว ควรตรวจสอบความชื้นในดินด้วย ก่อนการเก็บผลผลิตประมาณ 10 วัน ควรให้น้ าอย่างสม่ าเสมอถ้าขาดน้ าผลผลิตจะ ลดลง

             3. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 3.1 โรคลำต้นไหม้ ลักษณะเป็นแผลยาวแนวเดียวกับลำต้นสีม่วง หรือสีน้ำตาลเมื่ออาการรุนแรงแผลจะขยาย มาเชื่อมกันทำให้ลำต้นแห้งเป็นทางยาว โรคนี้เกิดได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อพบอาการของโรค ควรถอนต้นที่ เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร และควรหยุดฉีด พ่นสาร 14 วันก่อนการเก็บเกี่ยว 3.2 โรคใบและกิ่งไหม้ ลักษณะแผลมีรูปร่างไม่แน่นอน สีม่วงอมน้ำตาลพบบนปลายกิ่งแขนงและใบเทียม อาการรุนแรงทำให้ใบเทียมร่วงและกิ่งแห้งตาย พบได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เมื่อพบอาการของโรค ควรถอน ต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ า 20 ลิตร ควร หยุดฉีดพ่นสาร 14 วันก่อนการเก็บเกี่ยว หรือ สารแมนโคเซบ 85% ดับบิวพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร พ่นเมื่อพบ โรคแล้วพ่นซ้ำทุก 5-7 วันและควรหยุดพ่นสาร 7 วันก่อนการเก็บเกี่ยว5 3.3 โรคแอนแทรคโนส ลักษณะแผลเป็นวงสีน้ำตาลหรือเทาดำซ้อนกันตามความยาวของต้น อาการรุนแรง จะท าให้ส่วนที่เป็นโรคยุบตัวลงทำให้ลำต้นลีบและแห้งตาย เมื่อพบอาการของโรค ควรถอนต้นเผาท าลาย แล้วพ่นสารคอป เปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ในช่วงฤดูฝน  


http://www.aopdt01.doae.go.th/KM

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอข้าวโพด

การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอข้าวโพด


การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอข้าวโพดมีขั้นตอนดังนี้

1. นำฝักข้าวโพด ที่มีอายุ 12-14 วันหลังจากการผสมเกสรมาฟอกฆ่าเชื้อโดยแช่ในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อผสมกับคลอรอกซ์ 15 เปอร์เซ็นต์ และทวีน 20 2-3 หยด เขย่าเป็นเวลา 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วอีก 2 ครั้ง
2.ใช้ปลายมีดฝานส่วนปลายเมล็ดทิ้งไปประมาณ 1/3 แคะเอ็มบริโอของข้าวโพด 30 เอ็มบริโอ ออกมาเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร N6 ที่เติม NAA 0.5 มก./ล. 2,4-D 2.0 มก./ล. น้ำตาลซูโครส 20 ก./ล. และวุ้น phytagel 2.6 ก./ล. (Chu, 1975) ที่บรรจุอยู่ในจานแก้ว (petridish)




3.นำไปเก็บในที่มืด อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 วัน เมื่อเอ็มบริโอเริ่มพัฒนาเป็นต้นอ่อนมียอดยาวประมาณ1 เซนติเมตร ย้าย petridish ไปวางบนชั้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ภายใต้สภาพที่มีแสงจากหลอด Grolux และ Cool white ที่ความเข้มแสง 3,000 ลักซ์ 16 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 6 วัน

4.เตรียมขวดอาหารที่ใส่ Growth medium (GM) ที่เติม IBA 1 มก./ล. และน้ำตาลซูโครส 25 ก./ล. ใช้ vermiculite เป็นวัสดุค้ำจุนโดยตวง GM 45 มิลลิลิตร ใส่ในขวดที่มี vermiculite 3.3 กรัม ย้ายต้นอ่อนข้าวโพดลงในขวดในสภาพปลอดเชื้อ ขวดละ 2 ต้น ปิดฝาซึ่งเจาะรูตรงกลางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร อุดรูด้วยสำลีเพื่อเพิ่มการถ่ายเทอากาศภายในขวดเพาะเลี้ยง วางขวดบนชั้นเพาะเลี้ยงเพื่อชักนำให้มีการเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์


5.หลังจากนั้น 18-20 วัน เมื่อต้นข้าวโพดมีใบโตเต็มที่ 3 ใบ มีรากยาวพอสมควร ย้ายต้นออกมาล้าง vermiculite ออกจากรากให้หมด จากนั้นย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกที่มีส่วนผสมของ ดิน : ทราย : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงย้ายปลูกลงแปลง เพื่อดูการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมภายนอก