วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

   1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง 
   2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
   3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช
   4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10–15 นาที
   5. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง
   6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์
   7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปีรหัสแล้วนำไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป







ขั้นตอนการนำพืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกปลูก

           ก่อนเข้าถึงขั้นตอนการดูแลหรืออนุบาลพืชเนื้อเยื่อระยะต่างๆ ควรมีการปรับสภาพให้เริ่มเรียนรู้และค่อยๆ ปรับตัว
อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติได้ โดยเพิ่มความเข้มแสง ลดความชื้นในภาชนะลง อาจใช้วิธีนำขวดเนื้อเยื่อพืชออกมา
วางในสภาพอุณหภูมิห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกแต่ไม่ควรให้เนื้อเยื่อพืชได้รับแสงแดดโดยตรงในระยะเวลา 2-3 วันแรก
ตามลำดับ ดังนี้
             1.ปรับสภาพเนื้อเยื่อพืช 2-3 วัน ก่อนปลูกในสภาพอุณหภูมิห้องปกติที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
             2.นำพืชออกจากภาชนะที่ได้จากการเพาะเลี้ยงด้วยฟอร์เซบหรือปากคีบ
             3.ล้างอาหารวุ้นที่ติดอยู่บริเวณรากออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด
             4.นำต้นพืชแช่ในสารป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย เป็นเวลา 3-5 นาที ก่อนปลูก เพื่อป้องกันโรคต้นเน่าเนื่องจาก
พืชยังอ่อนแอต่อการทำลายของเชื้อโรค



     การปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 


                1. การเตรียมแปลงปลูก ควรไถดินตากไว้ประมาณ 7-15 วัน แล้วไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง เพื่อกำจัดศัตรูพืช และให้ ดินร่วนซุย สะดวกในการย้ายปลูกต้นหน่อไม้ฝรั่ง หากดินมีความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 6.0 ควรหว่านปูนขาวอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ในดินร่วนปนทราย หรืออัตรา 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ ในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย แล้วไถกลบ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2-4 ตันต่อไร่
               2. การปลูก เนื่องจากต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขยายกอเร็วกว่าต้นกล้าที่ได้จากการเพาะ จากเมล็ด ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับต้นกล้า ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ 80x150 เซนติเมตร การจัดการเพื่อความสมบูรณ์ของต้น
               1. การใส่ปุ๋ย
                   -ระยะย้ายปลูก ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 300-500 กรัมต่อหลุม เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น หน่อไม้ฝรั่ง แล้วดินหนา 3-5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้รากสัมผัสกับปุ๋ยโดยตรง
                   -ระยะการเจริญเติบโต เมื่อย้ายกล้าปลูกแล้ว 1 เดือน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และให้อีกทีทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-5-20 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ทุกเดือน เมื่อต้น หน่อไม้ฝรั่ง เริ่มให้ผลผลิต ควรพูนโคนทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันมิให้ดินปลูกบริเวณ
โคนต้นยุบตัวลง ซึ้งจะทำให้ ระบบรากตื้น และลำต้นล้มง่าย

             2. การให้น้ า ควรให้น้ าวันละ 1 ครั้ง หลังการย้ายปลูก และเปลี่ยนเป็น 3-5 วันต่อครั้ง หรือหากหน่อไม้ฝรั่งตั้งตัวได้แล้ว ควรตรวจสอบความชื้นในดินด้วย ก่อนการเก็บผลผลิตประมาณ 10 วัน ควรให้น้ าอย่างสม่ าเสมอถ้าขาดน้ าผลผลิตจะ ลดลง

             3. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 3.1 โรคลำต้นไหม้ ลักษณะเป็นแผลยาวแนวเดียวกับลำต้นสีม่วง หรือสีน้ำตาลเมื่ออาการรุนแรงแผลจะขยาย มาเชื่อมกันทำให้ลำต้นแห้งเป็นทางยาว โรคนี้เกิดได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อพบอาการของโรค ควรถอนต้นที่ เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร และควรหยุดฉีด พ่นสาร 14 วันก่อนการเก็บเกี่ยว 3.2 โรคใบและกิ่งไหม้ ลักษณะแผลมีรูปร่างไม่แน่นอน สีม่วงอมน้ำตาลพบบนปลายกิ่งแขนงและใบเทียม อาการรุนแรงทำให้ใบเทียมร่วงและกิ่งแห้งตาย พบได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เมื่อพบอาการของโรค ควรถอน ต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ า 20 ลิตร ควร หยุดฉีดพ่นสาร 14 วันก่อนการเก็บเกี่ยว หรือ สารแมนโคเซบ 85% ดับบิวพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร พ่นเมื่อพบ โรคแล้วพ่นซ้ำทุก 5-7 วันและควรหยุดพ่นสาร 7 วันก่อนการเก็บเกี่ยว5 3.3 โรคแอนแทรคโนส ลักษณะแผลเป็นวงสีน้ำตาลหรือเทาดำซ้อนกันตามความยาวของต้น อาการรุนแรง จะท าให้ส่วนที่เป็นโรคยุบตัวลงทำให้ลำต้นลีบและแห้งตาย เมื่อพบอาการของโรค ควรถอนต้นเผาท าลาย แล้วพ่นสารคอป เปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ในช่วงฤดูฝน  


http://www.aopdt01.doae.go.th/KM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น