วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิธีการปลูกสตอเบอรี่

การปลูกสตอเบอรี่


วิธีการปลูก
                           จะเริ่มปลูกต้นแม่พันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม ปลูกแบบแถวเดี่ยวห่างจากสันแปลงด้านระดับสูงประมาณ 15 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับวางถุงเพาะชำต้นไหลจากสายไหลที่ทอดลงมา เว้นระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 80 – 90 ซม. ในระยะแรกต้องบำรุงต้นแม่พันธุ์ให้แข็งแรงพร้อมทั้งตัดไหลที่ออกมาทิ้งให้หมด เพื่อให้ต้นแม่พันธุ์แตกกอประมาณ 4 -5 ต้น/กอ ประมาณเดือนกรกฎาคมจึงเริ่มปล่อยให้ต้นแม่พันธุ์แตกไหลได้ตามปกติ หลังจากที่ต้นไหลโตและเริ่มมีตุ่มรากเกิดขึ้น ให้นำถุงพลาสติกขนาด 3 x 5 นิ้ว ที่ใส่วัสดุปลูกจะเป็นดินล้วนหรือดินผสมก็ได้มารองรับต้นไหล แล้วใช้ไม้ไผ่เล็กๆพับกลางเสียบยึดสายไหลให้ติดกับดินในถุงพลาสติก รอจนต้นไหลสร้างรากและแข็งแรงดี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน จึงตัดต้นไหลออกจากต้ตแม่พันธุ์โดยตัดสายไหลที่เจริญมาจากต้นแม่ห่างจากต้นไหลประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันโรคเข้าต้นไหลและใช้ในการจับระดับปลูก ส่วนไหลด้านปลายให้ตัดชิดต้นไหล

พันธุ์สตรอเบอรี่
         การ ปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่ายในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”

ลักษณะทั่วไป
       เป็น ไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”

ขั้นตอนการขยายต้นสตรอเบอรี่แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้
        1.ตัดเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายไหลความยาว 0.5 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า นำไปเลี้ยงในสูตรอาหารวุ้นสำหรับสตรอเบอรี ถ้าหากใช้เนื้อเยื่อเจริญที่มีความยาวหรือขนาดใหญ่กว่านี้จะทำให้มีเปอร์เซนต์การที่ติดเชื้อไวรัสสูงขึ้น
        2.ประมาณอีก 60 วันเนื้อเยื่อเจริญก็ปรากฏเป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ (Callus) ทำการแบ่งและย้ายลงในอาหารวุ้นใหม่ (สูตรแตกกอ) และขวดที่ใหญ่ขึ้น
        3.ประมาณอีก 40-50 วันจะเห็นเป็นส่วนลำต้นที่มีก้านใบและใบเล็กๆเป็นจำนวนมาก ให้แบ่งแยกออกเป็นต้นๆ ย้ายลงในขวดที่ใหญ่ขึ้นอีกในอาหารวุ้นใหม่ (สูตรเร่งให้เกิดราก) ควรจัดให้มีระยะห่างพอสมควรเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี (อาจทำการแบ่งต้นจากระยะนี้ไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มจำนวนต่อไปตามข้อ 2 ก็ได้
        4.ประมาณอีก 20 วันนำต้นออกจากขวดล้างให้สะอาดปราศจากวุ้น และย้ายลงปลูกในกระบะชำซึ่งใช้ Vermiculite ใหม่ๆเป็นวัสดุปลูก ครอบด้วยโครงพลาสติกเพื่อให้มีความชื้น 80-100% อุณหภูมิคงที่       22-25 ๐C และพรางแสงให้ตลอดช่วงภายในโรงเรือนกันแมลง
5.ประมาณอีก 30 วันย้ายต้นเนื้อเยื่อเหล่านี้ลงในกระถางเล็กที่ใส่ดินผสมวัสดุปลูกผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว และดูแลภายในโรงเรือนกันแมลง


  ต้นแม่พันธุ์แจกเกษตรกร
          เมื่อต้นแม่พันธุ์เหล่านี้ (Foundation stock plant ) เจริญเติบโตได้ขนาดพอเหมาะและมีความแข็งแรงแล้ว ก็สามารถทำการขยายไหลแบบวิธีปกติ(หลังจากผ่านกระบวนการทดสอบโรคไวรัส)ในกระบะที่อบดินภายในโรงเรือนกันแมลง เพื่อให้ได้ต้นไหลรุ่นที่หนึ่ง และนำต้นไหลที่ได้ไปขยายพันธุ์ในแปลงภายนอกโรงเรือนต่อไปอีกสองรุ่น ต้นไหล (Certified plant) ที่ได้หลังจากนี้ เกษตรกรก็สามารถนำไปใช้เป็นต้นแม่พันธุ์เพื่อขยายเป็นต้นสำหรับปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิต


                                                     ต้นที่ขยายจากต้นแม่พันธุ์ปลอดโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น