วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

เห็ดนางรม


ลักษณะของเห็ดสกุลนางรม





          เนื่องจากเห็ดนางรมมีรูปร่างเหมือนหอยนางรมจึงเ รียกเห็ดนี้ว่า Oyster Mushroom ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
1. หมวกดอก (cap หรือ pileus) มีลักษณะคล้ายหอยนางรม หมวกดอกมีผิวเรียบกลางหมวกดอกมีลักษณะเว้าเป็นแอ่ง ขอบกลีบดอกโค้งลงด้านล่างเล็กน้อยดอกที่ โตเต็มที่หลังดอกมีลักษณะเป็นครีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-15 เซนติเมตร มีสีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดเห็ดด้านล่างของหมวกดอกจะเชื่อมติดกับก้านดอกหรือเป็นเนื้อเดียวกัน
2. ก้านดอก (stalk) เป็นส่วนชูดอกขึ้นไปในอากาศ ก้านดอกยาวปานกลางและเจริญเข้าหาแสงสว่าง ก้านดอกเห็ดอยู่ค่อนไปข้างหนึ่ง ไม่อยู่กึ่งกลางของหมวกเห็ด ก้านโค้งงอเหมือนพัดเล็กน้อย มีความกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-10 เซนติเมตร
3. ครีบดอก (gill) มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ สีขาวหรือสีเทา บริเวณครีบดอกเป็นแหล่งสร้างสปอร์สปอร์มีสีขาวอมม่วงอ่อนรูปร่างกลมรี มีติ่งเล็กๆที่ปลายข้างหนึ่ง ขนาด 3 x 4 ถึง 8 x 12ไมโครเมตร เห็ดนางรมขึ้นอยู่เป็นกลุ่มและบางชนิดอาจขึ้นเป็นดอกเดี่ยว มีโคนก้านดอกติดกันและมีหมวกเห็ดซ้อนกันเป็นชั้นๆ และสามารถงอกออกมาจากขอนไม้ กิ่งไม้ผุบนต้นไม้ยืนต้นหรือถุงพลาสติกที่ใช้เพาะได้



วงจรชีวิตของเห็ดสกุลนางรม


            เห็ดนางรมมีวงจรชีวิตจากดอกเห็ดที่เจริญเติบโตเต็มที่ มีการสร้างสปอร์ เมื่อเห็ดแก่แล้วสปอร์จะหลุดออกจากครีบซึ่งอยู่ใต้หมวกดอกและสามารถปลิวไปตกที่บริเวณอื่นได้ เมื่อเจอสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะงอกได้เส้นใยขั้นที่ 1 จากนั้นเส้นใยขั้นที่ 1 ที่เจริญมาจากสปอร์ที่ต่างเพศกันจะรวมตัวกันแล้วพัฒนาเป็นเส้นใยขั้นที่ 2 เส้นใยขั้นที่ 2 จะเจริญเติบโตได้อย่างมากมายเส้นใยในระยะนี้สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อสร้างดอกเรียกเส้นใยในดอกเห็ดว่าเส้นใยขั้นที่ 3



คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดสกุลนางรม

1. เห็ดนางรมจะมีโปรตีนสูงกว่าพืชผักอื่น ๆ ยกเว้น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา
2. มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
3. มีกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
4. เห็ดนางรมให้พลังงานน้อย
5. มีวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 1บี2 วิตามินซี ไนอาซิน ปริมาณแตกต่าง กันขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด
6. มีส่วนประกอบของเยื่อใย (fiber) และคาร์โบไฮเดรต
7. เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น โปตัสเ ซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม แคลเซียม และแมกนีเซียม ในปริมาณแตกต่างกันไป ในเห็ดสกุลนางรมจะมีปริมาณทองแดงมากกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ


คุณค่าทางยาของเห็ดสกุลนางรม

1. เบต้า-กลูแคน
ในผนังเส้นใยของเห็ดจะมีสารเบต้า-กลูแคน(B-(1-3)glucan) หรือพลูโรทินโพลีแซ็คคาไรด์(Pleurotin Polysaccharides) เป็นโพลีแซคคาไรด์ หรือน้ำตาล ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเรามากมายคือ
– มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
– ต่อต้านโรคมะเร็งและลดอนุมูลอิสระ
– กระตุ้นให้แผลหายเร็ว โดยจะไปเพิ่มประสิทธิภาพของการเพิ่มคอลลาเจน ให้กับบริเวณเนื้อเยื่อที่เป็นแผล
– เพิ่มการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาว
– ต่อต้านแบคทีเรียพวกแกรมบวก ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น ระงับอาการปวดตามข้อ

2. ไคติน-ไคโตซาน
ไคติน-ไคโตซานมีบทบาทในการเป็นเส้นใยอาหาร เส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์เป็นสารพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีรสหวาน ไม่ละลายน้ำ ไม่ย่อยในกระเพาะอาหารของคน ไม่ให้พลังงานหรือสารอาหารแก่ร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย ช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ท้องผูก ริดสีดวงทวาร โรคหัวใจ โรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด รักษาอาการปวดข้อ ปวดเข่า ในประเทศญี่ปุ่นมีการเติมไคโตซานลงในอาหารต่างๆหลากหลายชนิด เช่น คุกกี้ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ บะหมี่ และน้ำส้มสายชู เป็นต้น

3. กรดโฟลิก
มีกรดโฟลิกสูงกว่าพืชผักและเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยปรับสภาพความดันโลหิต

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

วิธีเสียบกิ่งมะม่วง วิธีทาบกิ่งพันธุ์มะม่วงดีกับต้นตอมะม่วงแก้ว

วิธีเสียบกิ่งมะม่วง วิธีทาบกิ่งพันธุ์มะม่วงดีกับต้นตอมะม่วงแก้ว



1.ตัดต้นตอเก่าออกโดยให้สูงจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร
2.เตรียมยอดพันธุ์ดี โดยเลือกยอดที่มีตุ่มตาแตกออกมาเพื่อความรวดเร็วในการแตก (ภาพที่2)
3.เปิดเปลือกต้นตอกว้าง 1 เซนติเมตร และยาว 1 นิ้ว ( ภาพที่1บนขวา )
4.เฉือนแผลกิ่งพันธ์ุดีเป็นรูปลิ่มยาว 1 นิ้วปาดเป็นรูปปากฉลามปาดปลายด้านหลังออกเล็กน้อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ท่อน้ำท่ออาหารสัมผัสกับต้นต่อมากยิ่งขึ้น และอย่าเอามือไปถูกรอยแผลหลังปาดกิ่ง เสียบลงไปบนตอที่กรีดแผลไว้ (ภาพที่1ล่างซ้าย)
5.ใช้เทปพันแผลให้แน่น พันเว้นยอดไม่ต้องพันพลาสติดจนมิดยอดครอบด้วยถุงพลาสติกมัดกับต้นให้แน่นป้องกันการคายน้ำและใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อไว้เพื่อป้องกันแสงแดด

6.ประมาณ 15-20 วัน ตุ่มตาจะเริ่มผลิออกมา ให้แกะกระดาษหนังสือพิมพ์และถุงพลาสติกออก เท่านี้ก็จะได้มะม่วงพันธ์ุดีที่เราต้องการ

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

มะขามเทศ

      มะขามเทศ พบเห็นกระจายอยู่แทบทุกภาคของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นริมถนนหนทางสวนหลังบ้าน หรือท้องทุ่งนา หรือเกิดขึ้นเองในที่รกร้างเพราะเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีไม่ค่อยมีปัญหาโรค-แมลง เหมาะที่จะปลูกไว้เป็นร่มเงาและพืชบำรุงดิน



การขยายพันธุ์มะขามเทศ : สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเปลี่ยนยอดการทาบกิ่ง การตอน แต่ที่นิยม ได้แก่ การตอน แต่ต้นที่ได้จากการปลูกด้วยวิธีเพาะเมล็ดจะทนแล้งได้ดีมาก สำหรับวิธีการตอนนั้น ต้องควั่นกิ่งที่บริเวณใต้ตาประมาณ 1 นิ้ว จากนั้นใช้มีดคมๆ ควั่นเปลือกนอกแล้วลอกออก ให้รอยควั่นกว้างประมาณ 1 นิ้ว แล้วใช้กระเปาะขุยมะพร้าวแช่น้ำหมาด ๆ หุ้มรอยควั่น ผูกเชือกหัวท้ายให้แน่น แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องรดน้ำ ประมาณ 20-25 วันกิ่งตอนก็จะออกราก(ระยะเวลาการเกิดรากขึ้นอยู่กับขนาดของกิ่ง)จึงตัดกิ่งไปปักชำ เมื่อตัดกิ่งตอนจากต้นลงถุงเพาะชำจะต้องทิ้งไว้อีกประมาณ 2 อาทิตย์ จึงจะสามารถย้ายปลูกลงดินได้



การเตรียมดิน : ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดอย่างน้อย 50 x 50 x 50 เซนติเมตรตากดินไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผสมดินปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ประมาณหลุมละ 2-3 บุ้งกี๋

การปลูก :มะขามเทศสามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่อง-พื้นที่ราบแบบยกร่อง หากเป็นพื้นที่ราบแบบยกร่องจะใช้ระยะปลูก 8-10 x 8-10 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 16-25 ต้น ส่วนในพื้นที่ราบจะใช้ระยะปลูก10-12 x 10-12 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 10-16 ต้น
  การดูแลรักษา : 

การให้น้ำ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งในมะขามเทศต้นเล็กและต้นโตสำหรับมะขามเทศต้นโต ควรงดการให้น้ำในช่วงก่อนออกดอกเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่น ๆเพื่อให้มะขามเทศได้พักตัวและสะสมอาหารเตรียมความพร้อมที่จะออกดอกและเมื่อมะขามเทศติดดอกออกฝักแล้ว จึงเริ่มให้น้ำตามปกติแต่ควรระวังในช่วงที่ฝักเริ่มแก่เพราะถ้าให้น้ำในช่วงนี้มากเกินไปจะทำให้คุณภาพฝักไม่ดีฝักแตกเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้คุณภาพเนื้อไม่แน่นและรสชาติไม่ดี

การตัดแต่งกิ่งในมะขามเทศจะทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่ม ให้มีลักษณะที่ง่ายต่อการจัดการ โดยจะควบคุมความสูงของต้นไว้ที่ความสูงไม่เกิน 3 เมตร นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังมีวัตถุประสงค์อื่นๆ อีก ดังนี้ 

1.เพื่อการปะทะจากแรงลม หากปล่อยให้ทรงพุ่มสูงเกินไป จะเกิดการโน้มตามแรงลมและอาจทำให้พุ่มฉีก-หักได้

2. เพื่อง่ายต่อการจัดการศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงทรงพุ่มทำให้ง่ายต่อการจัดการเรื่องโรคและแมลง เนื่องจากต้นที่สูงจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของแมลง เพราะจัดการได้ยาก

3. เพื่อการจัดการแสง ในการตัดแต่งกิ่ง ที่เป็นกิ่งกระโดงหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิต ตลอดจนกิ่งที่แห้งตาย ฉีก-หัก ออก ทำให้ทรงพุ่มโล่ง แสงกระจายได้ทั่วถึง ทำให้ลดการสะสมของโรคแมลง ตลอดจนเป็นการเพิ่มคุณภาพในการผลิตอาหารของพืช 

4. เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ศัตรูพืชเนื่องจากมะขามเทศเป็นพืชที่มีโรค-แมลงรบกวนค่อนข้างน้อย แต่ถ้าพบแมลงเข้าทำลายให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร สูตรดังนี้

++ สูตรน้ำหมักชีวภาพไล่แมลง ++

1. ข่าแก่จัด 5 กิโลกรัม

2. ยาสูบ1 กิโลกรัม

3. บอระเพ็ด มากตามความต้องการ

4. ฝักคูณ มากตามต้องการ

5. กากน้ำตาล 3 ลิตร

6. น้ำ10 ลิตร 

วิธีการทำ : นำมาผสมหมักรวมกันไว้ 25 วัน สามารถนำไปใช้ได้

อัตราการใช้ : น้ำหมัก 1 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยไล่หนอน แมลงทุกชนิด


การให้ปุ๋ยเน้นการให้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนการใช้เคมี จึงทำให้ประหยัดต้นทุนในการผลิต เนื่องจากมะขามเทศมีการตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ได้ดี สำหรับปุ๋ยอินทรีย์สูตรที่ใช้กับมะขามเทศได้ผล มีดังนี้ 

++ สูตรน้ำหมักชีวภาพจากพุงปลากระตุ้นการแตกใบ-ยอดอ่อน ++

สูตร : 

1.พุงปลานิลหรือปลาชนิดอื่นๆ 3 กิโลกรัม

2.กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม

3.น้ำ 10 ลิตร 

การทำ :หมักทิ้งไว้ 1 เดือน สามารถนำไปใช้ได้

อัตราการใช้ :น้ำหมัก 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนเย็น 7 วันต่อ1 ครั้ง จะช่วยบำรุงยอดให้แข็งแรง เร่งออกยอดอ่อน โตเร็ว

++ ปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรบำรุงต้น ++ 

1. มะละกอ 2 กิโลกรัม

2. ฟักทอง 2 กิโลกรัม

3. กล้วย 2 กิโลกรัม

4. น้ำเปล่า 10 ลิตร

วิธีการทำ : อีเอ็ม 20 ซีซี หมักในภาชนะ ขนาดมีความจุที่ 100 ลิตรทิ้งไว้ 7 วัน ในที่ร่มไม่โดนแสงแดด ครบ 7 วัน

วิธีการใช้ : กรองเอาน้ำ 1 ลิตรต่อน้ำสะอาด 200 ลิตร ฉีดพ่นตรงโคนต้น ทุกๆ 7 วัน 

คำแนะนำเพิ่มเติม : ใช้ได้ทั้งไล่แมลง เร่งดอกเร่งผล ทำให้ผลมีรสชาติที่หวาน อวบ น่าทานได้ราคา มากกว่าที่สวนอื่นมูลสัตว์หรือที่เราเรียกว่าปุ๋ย ขุดโดยรอบโคนต้น ห่างจากต้นประมาณ ครึ่งเมตร วางก้อนมูลสัตว์โดยรอบกันน้ำที่จะรดไหลออกมา และเมื่อฝนตก หรือเรารดน้ำน้ำก็จะซึมซับเอาปุ๋ยคอกค่อยๆซึมลงไปในรากต้นมะขามเทศ นอกจากได้ความสวยงามแล้วยังได้ประโยชน์อีกด้วย

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

การปลูกหม่อนเบอร์รี่

วิธีปลูกหม่อน



วิธีการปลูกที่นิยมกันมี 2 วิธี คือ

1. นำท่อนพันธุ์ไปปลูกในแปลงโดยตรง 

ก่อนปลูกให้ใช้ไม้ไผ่ปักหัวท้ายเป็นแนวแถวปลูก นำเชือกที่ได้ทำเครื่องหมายระยะปลูกระหว่างต้นไว้ ดึงให้ตึงระหว่างหลักทั้งสอง แล้วปักท่อนพันธุ์ลงปลูกให้ลึก 3 ใน 4 ส่วนของความยาวท่อนพันธุ์ หรือมีตาอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 1 ตา ใช้ท่อนพันธุ์ 2 ท่อนต่อหลุม และควรปักชำไว้เพื่อปลูกซ่อมบางหลุมที่ต้นตายด้วย




2. นำท่อนพันธุ์ไปปักชำในแปลงเพาะชำก่อน 

แล้วจึงย้ายปลูกลงหลุมที่เตรียมไว้ โดยใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 4 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะทำให้ต้นหม่อนมีอัตราการรอดสูง



วิธีให้มีผลหม่อนทานตลอดทั้งปีเทคนิคง่ายๆ คือ

๑. ให้เก็บเอาใบแก่ๆ ออก ให้เหลือใบติดในแต่ละกิ่งที่ปลายยอดประมาณ ๒-๓ ใบ
๒. ทำการดัด หรือ มัด กิ่งหม่อนที่ปลิดใบออกแล้วเป็นซุ้มโค้ง ยิ่งโน้มมากยิ่งดีหรือจะทำให้กิ่งโค้งรอบต้นเหมือนน้ำพุก็ได้
๓. รดน้ำ ให้ปุ๋ยคอก ตามปกติไม่นาน หม่อนจะแตกใบ ยอดและ กิ่งใหม่ ในแต่ละข้อใบที่เด็ดเอาใบออกพร้อมทั้งออกดอก และติดผล ด้วย
วิธีนี้จะได้หม่อนไว้ทานตลอดปี ดกมาก และสามารถเหลือไว้เก็บแจกจ่ายเพื่อนๆ ได้ด้วยลองทำกันดูนะครับ
ใบที่เด็ดออกนั้น เอามาล้างน้ำ หั่นฝอย และตากแห้ง ไว้ชงชาดื่ม ดีมากๆ เลยครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

การขยายพันธุ์มะนาว

การขยายพันธุ์มะนาว


การจำแนกพันธุ์มะนาว


สามารถจำแนกได้หลายวิธี แต่ในที่นี้จะขอจำแนกตามความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค คือ
1. มะนาวหนัง  ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวและท้ายแหลม  เมื่อโตเต็มที่ผลมีลักษณะค่อนข้างยาว อาจกลมมนบ้างเล็กน้อย ด้านหัวมีจุก  ข้อดีคือเก็บรักษาไว้ได้นาน ข้อเสีย คือ เปลือกหนาเวลานำไปปรุงอาหารอาจมีรสขมเนื่องจากตุ่มน้ำมันที่ผิว
2. มะนาวไข่  ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อผลโตเต็มที่มีลักษณะกลมมน เปลือกบางผลโต กว่ามะนางหนัง ข้อดีคือน้ำมาก
3. มะนาวแป้น  ผลอ่อนมีลักษณะกลมมน เมื่อผลโตเต็มที่มีลักษณะกลมแบน  ทรงแป้น ผลมีขนาดกลางระหว่างมะนาวหนัง และมะนาวไข่  เปลือกบางน้ำมากให้ผลผลิตตลอดปี มีหลายพันธุ์ เช่น  แป้นรำไพ  แป้นทราย และแป้นทวาย เป็นต้น

การขยายพันธุ์มะนาว โดยวิธีการตอนกิ่ง


1.เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนและแก่จนเกินไป  สามารถตอนได้ตั้งแต่กิ่งที่เป็นสีเขียว สีน้ำตาลอ่อน และสีน้ำตาลแก่  ยาวประมาณ  30-50 เซนติเมตร เลือกกิ่งที่ไม่เป็นโรคแมลง กิ่งที่ตั้งตรง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ขึ้นไป
                                             
2. ตัดหนามและใบบริเวณที่จะควั่นกิ่งออกประมาณ 5 เซนติเมตร (เพื่อให้สะดวกในการควั่นกิ่ง และป้องกันหนามมะนาวตำมือ)
3. ควั่นกิ่งออกเป็น 2 รอยถึงเนื้อไม้ ห่างกัน 1-2  เซนติเมตร 


4. ใช้สันมีดขูดเนื้อเยื่อเจริญออกให้หมด ขูด    
5. หุ้มด้วยขุยมะพร้าวที่มีความชื้น  หรือใช้ตุ้มตอนสำเร็จ ประกอบด้วย พลาสติก ขุยมะพร้าว ดินผสมน้ำยาเร่ง ราก
มัดเปาะหัวท้ายให้แน่น 



6. ทิ้งไว้ประมาณ 25-45 วัน รากจะแทงออกมาให้เห็น โดยจะเห็นรากด้านล่างออกก่อน ตามแรงโน้มถ่วงของโลก 
เมื่อมีรากออกมากแล้ว ใช้กรรไกรตัดกิ่ง ตัด เพื่อนำไปแช่น้ำต่อไป  
7. นำกิ่งตอนที่ออกรากแล้ว แช่น้ำจนอิ่มตัว
8. นำไปชำในถุงดำขนาด   
                             

    ส่วนผสมของวัสดุปลูก   

ดิน                              1 ส่วน
แกลบ                         1 ส่วน
มูลวัวที่ย่อยสลายแล้ว 1 ส่วน   
9. นำกิ่งตอนมะนาวลงปลูกในถุงดำขนาด 5 X 8 นิ้ว โดยใส่ดินปลูกรองก้นถุง 1 ใน 3 ส่วนของถุง         
10. นำถุงพลาสติกที่หุ้มตุ้มออก
11. วางกิ่งตอนมะนาวลงในถุง โดยให้ลำต้นตั้งตรง  ใส่ดินให้เต็มถุงเขย่าดินให้แน่น
12. รดน้ำแล้วเก็บในที่ร่มรำไร ประมาณ  15 วัน จะเห็นรากแทงออกจากถุง หรือนำไปปลูกในแปลง และสามารถจำหน่ายได้


วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

      การเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมีขั้นตอนการเพาะ 3 ขั้นตอน ดังนี้


    1.การเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้น Pda
    2.การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดข้าวฟาง
    3.การทำก้อน                                          

                                                             การเพาะเห็ด

                                                           สูตรอาหาร PDA
                        1.มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม
                                      2.น้ำตาลเชิงเดียว (Dextros) 20 กรัม
              3.วุ้น (Agar) 20 กรัม
               4.น้ำสะอาด 1,000 cc





วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ

- นำมันฝรั่งปอกเปลือกล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
  นำไปต้มกับน้ำ (1,000 cc)
- กองเอาแต่น้ำแล้วนำมาผสมกับวุ้นและน้ำตาลเชิงเดียว 
- บรรจุใส่ขวดประมาณ 1/4 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
- นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 
   นาน 25-30 นาที
- เมื่อเย็นแล้วนำขวดมาเอียง 45-70 อาศาเซลเซียส
- เลี้ยงเชื้อเห็ดในตู้เลี้ยงเชื้อ


การเตรียมเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง

1.แช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำประมาณ 10-12 ชั่วโมง                
2.ต้มหรือนึ่งให้สุก                                                                                  
3.ผึ่งให้แห้ง                                                                                                  
4.บรรจุใส่ขวดแบนประมาณ 1/2 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
5.นำไปนึ่งให้เย็นแล้วนำไปเลี้ยงเชื้อเห็ด  
6.เลี้ยงเชื้อเห็ดจากเส้นใยที่เจริญในอาหาร PDA
         
                การเพาะเห็ดนับเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย
เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียวหรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ และในท้องถิ่น เช่น
หญ้าชนิดต่างๆ เปลือกผลไม้ เพื่อใช้ให้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
และจะเป็นการเพิ่มผลตอบเทนให้สูงขึ้น


การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

สูตรอาหารก้อนเชื้อ

-  ขี้เลื่อย 100 กก.                    - รำละเอียด 5 กก.                 - ดีเกลือ 0.2 กก            
- ปูนขาว 1 กก.                        - น้ำสะอาด 70-75%


ขั้นตอนสำหรับทำก้อนเชื้อหลังเตรียมวัสดุ

- ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์
- หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน วิธีตรวจความชื้นว่าเหมาะสมหรือไม่
  ให้ใช้มือบีบแล้วแบมือออกดูว่าก้อนขี้เลื่อยยังเป็นก้อนอยู่ หากระหว่างบีบมีน้ำไหลออกมาแสดงว่าแฉะเกินไปหรือ
  ถ้าแบมือแล้วก้อนขี้เลื่อยแตกออก แสดงว่าแห้งเกินไป
-  บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อ ควรมีน้ำหนัก
  ขนาด 8 ขีด - 1กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วใส่คอขวดพลาสติกอุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ
   แล้วรัดยางวงให้แน่น
-  นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันทีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
-  นำหัวเชื้อเห็ดที่เราต้องการจะเพาะที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10- 20 เมล็ดต่อก้อน
   เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว รีบปิดปากถุงด้วยสำลี หรือกระดาษทันที วัสดุที่ใช้หัวเชื้อ
   ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอร์ก่อนทุกครั้ง
-  นำก้อนเชื้อที่ถ่ายเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่อก้อนเชื้อต่อไป

การบ่มก้อนเชื้อ

       หลังจากใส่เชี้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำไปบ่มในโรงบ่มเชื้อ
หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส
เพื่อให้เส้นใยเจริญในก้อนเชื้อและต้องหมั่นตรวจดูโรงแมลง
มด มอด แมลงสาบ ปลวกหรือไรต่างๆ หากพบให้รีบนำก้อนเชื้อออกไปกำจัดทันที
หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร เช่น ตระไคร้หอม รอบๆ โรงบ่ม
เพื่อป้องกันไว้ก่อนได้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อก็ขึ้นอยู่กับเห็ดแต่ละชนิด
อย่างเห็ดหอมก็จะใช้ระยะเวลา 4 เดือน



การปฏิบัติดูแลรักษา

        เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานและเห็ดนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใย
ประมาณ 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ถอดสำลีแล้วนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอก
รักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามที่เห็ดต้องการการให้ความชื้นภายในโรงเรือน
ไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละออง
นอกจากนี้ต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานและโรงเรือนเพาะเห็ด
เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคและแมลง

การเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ

       ถ้าคนไม่มีประสบการณ์เพาะเห็ดเลย ควรเริ่มต้นจากการซื้อก้อนเชื้อสำเร็จที่หยอดเชื้อแล้วไปลองเลี้ยงดูก่อน
ดูแลรดน้ำให้ออกดอก ถ้าทำตรงนี้จนมีความชำนาญแล้วเราก็อาจจะซื้อก้อนเชื้อสำเร็จมาเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนมั่นใจว่าสามารถผลิตก้อนเชื้อเองได้ โดยจะต้องลงทุนเพิ่ม คือ อุปกรณ์หม้อนึ่งฆ่าเชื้อและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น
วัสดุดิบ ขึ้เลื่อย เกษตรกรผู้ผลิตควรมองถึงคุณภาพเห็ดด้วย ถ้ามองแต่ว่าจะทำให้ได้วันละ 100-200 กก.
ถ้าเราเห็นแต่ปริมาณเราจะไม่ได้ในเรื่องของราคาในช่วงที่อากาศเหมือนๆ กัน เห็ดตัวเดียวกันออกดอกเยอะๆ
พร้อมๆ กัน ราคาก็จะถูกลงเหมือนสินค้าอื่น ในขณะที่เราเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่เราก็อาจจะเพาะเห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดโคนญี่ปุ่นด้วย หรือเห็ดอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่เราเพาะได้ บางช่วงเห็ดนางฟ้ามีราคาต่ำแต่เห็ดตัวอื่นยังราคาสูงอยู่
ในการเก็บดอก เราจะเก็บดอกที่ตูมไว้อีกนิดและไม่รดน้ำก่อนเก็บ 2 ชั่วโมง เราจะได้เห็ดที่มีคุณภาพและได้ราคาสูง
อย่างเห็ดสินค้าตลาดจะไม่เกิน 2-3 วัน ถ้าเราเก็บดอกตูมเราจะยืดเวลาไปได้อีก
โดยแช่ไว้ในห้องเย็นจะชะลอการขายได้


วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

การเพาะเห็ดหูหนู  


                      เป็นเห็ดที่ประชาชนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี สามารถ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพ ดินฟ้าอากาศของประเทศไทย เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม อร่อยและมีคุณสมบัติ พิเศษคือคงสภาพความกรอบและคุณค่าทางอาหาร ทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค ธรรมชาติของเห็ดหูหนูในสภาพธรรมชาติ เห็ดหูหนูจะเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะภูมิอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนเชื่อว่าเห็ดหูหนูเป็นยาอายุวัฒนะสามารถรักษาโรคคอเจ็บ โรคโลหิตจางและแก้โรคร้อนในได้เป็นอย่างดี ชาวจีนนับเป็นชาติแรกที่รู้จักเพาะและบริโภคเห็ดหูหนู ในสมัยก่อนชาวจีนเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็นท่อน ๆ มาเพาะ แต่สำหรับประเทศไทยได้ทดลองเพาะ เห็ดหูหนูโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุและมีเห็ดหูหนูเกิดขึ้น จากนั้นก็สามารถเก็บดอกเห็ดหูหนูได้เรื่อย ๆ จนเน่าขอนไม้จะผุ แต่ในปัจจุบันนิยมการเพาะเห็ดหูหนู ในถุงพลาสติกกันมากเพราะมีความสะดวก หาวัสดุเพาะได้ง่าย



     สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
              
               1. อุณหภูมิ เห็ดหูหนูสามารถเจริญได้ดีในทุกสภาพอากาศของไทย ในช่วงอุณหภูมิ 15-35 องศาเซลเซียส แต่ช่วงอุณหภูมิ ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยจะไม่ค่อยเจริญเติบโต ถ้าอุณหภูมิต่ำ ดอกเห็ดจะหนาผิดปกติ มีขนยาว เจริญเติบโต                                                        ช้าและผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก ผลผลิตต่ำ
              2. ความชื้น ปกติต้องการความชื้นในอากาศสูงมาก ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะในระยะเวลาที่เห็ดใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์
              3. แสงสว่าง ปกติไม่จำเป็นนักแต่ในช่วงที่เส้นใยเจริญเติบโต หากมีแสงมากจะทำให้เส้นใยเดินช้าแก่เร็ว จึงควรเลี้ยงเส้นใยในห้องที่ค่อนข้างมืด สำหรับในช่วงที่เห็ดเริ่มออกดอก ถ้าแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีสีคล้ำขนยาว แต่ถ้าแสงน้อยดอกเห็ดจะซีด
              4. การถ่ายเทอากาศ การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญมาก ถ้าการถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ๆ ดอกเห็ดจะไม่บานแต่จะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง แต่ถ้าอากาศถ่ายเทมากเกินไป จะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะแข็งกระด้าง มีขนยาว จึงนิยมเพาะในโรงเรือนที่มุงด้วยจากหรือหญ้าคา และบุด้วยพลาสติกภายในพร้อมกับ เจาะพลาสติกเป็นช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทพอสมควร
             5. สภาพความเป็นกรด-ด่าง เห็ดหูหนูเจริญได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือเป็นกรดเล็กน้อย ประมาณ 4.5-7.5 คล้ายกับเชื้อราทั่วไป ในการเพาะเห็ดหูหนูจึงควรปรับ สภาพของอาหารให้เหมาะกับการเจริญเติบโต


การผลิตก้อนเชื้อเห็ดหูหนูสูตรที่นิยมใช้คือ

           ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง 100 กิโลกรัมแป้งข้าวสาลีหรือน้ำตาล 3-4 กิโลกรัมรำละเอียด 5 กิโลกรัมข้าวโพดป่น 3-5 กิโลกรัมดีเกลือ 0.2 กิโลกรัมปูนขาว 0.5-1 กิโลกรัมน้ำสะอาด 70-80 กิโลกรัม

           หมายเหตุ ในการเพาะเห็ดหูหนู อาจใช้ขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ผลผลิตที่ได้จะต่ำ สำหรับขี้เลื่อยที่ใช้มักใช้ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ก้ามปู นุ่น เป็นต้น ซึ่งขี้เลื่อยที่ใช้จะต้องไม่มียางที่เป็นพิษต่อเห็ดด้วย ถ้าต้องการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นควรเพิ่ม อาหารเสริมลงในขี้เลื่อยสูตรที่ใช้ในการ เพาะก็สามารถดัดแปลงใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น แล้วแต่ผู้เพาะเห็ดจะเลือกแต่ควรคำนึง ถึงผลได้ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นด้วย สำหรับสูตรอาหารข้างต้น เป็นสูตรที่กรมวิชาการเกษตรได้ทำ การทดลองใช้กับเห็ดหูหนูที่ให้ผลผลิตสูง
       
     วิธีการทำ


      นำส่วนผสมต่าง ๆ มาคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ค่อย ๆ ผสมน้ำลงไป ให้ขี้เลื่อยมีความชื้น ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบโดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดูเมื่อคลายมือออก หากขี้เลื่อยมีความชื้นพอเหมาะขี้เลื่อยอาจจะแบ่งออกเป็น 2-3 ก้อนใหญ่เท่านั้น ไม่แตกละเอียดเป็นก้อนเล็ก ๆ ซึ่งแสดงว่าแห้งเกินไปหรือจับเป็นก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป เมื่อส่วนผสมได้ที่แล้ว บรรจุลงถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 8-10 ขีด อัดก้อนให้แน่นพอสมควร ส่วนปากถุงใส่คอขวดใช้ ยางรัดอุดจุกสำลีปิดทับด้วยกระดาษรัดยางอีกชั้น นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งนาน 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด เมื่อนำออกมาตั้งไว้ให้เย็น ทำการเขี่ยเชื้อเห็ดลงไป นำไปบ่ม ดูรายละเอียด ขั้นตอน การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

การบ่มก้อนเชื้อ
       
      หลังจากการที่เขี่ยเชื้อเรียบร้อยแล้ว ให้นำก้อนเชื้อ ไปบ่มไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิสม่ำเสมอ ในการบ่มเชื้อถ้าต้องการให้เชื้อเห็ดเจริญเร็ว ควรปฏิบัติดังนี้

          1. อุณหภูมิที่ใช้บ่มควรอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิห้อง
          2. ในระยะแรกของการเดินของเส้นใยเห็ดหูหนุ ไม่ต้องให้มีอากาศถ่ายเทมากนัก ถ้าอากาศไม่ถ่ายเทและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมไว้มาก เส้นใยเห็ดหูหนูเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วดังนั้นในระยะ 10 วันแรก ของการบ่มเชื้อไม่ควรให้มีลมโกรกมากนัก
         3. ในระยะที่เส้นใยเจริญเต็มที่ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ในระยะนี้จำเป็นต้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และให้ก้อนเชื้อถูกแสงสว่างบ้างซึ่ง จะช่วยกระตุ้นให้เส้นใยมีการสะสมอาหารและรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดเล็ก ๆ ภายในถุง
        4. ก้อนเชื้อที่เส้นใยเดินเต็มพร้อมที่จะเปิดดอกได้ ไม่ควรเก็บนานเกิน 15 วัน เพราะก้อนเชื้อจะแก่เมื่อเอาไปใช้จะเจริญเป็นดอกช้ามากหรือไม่เจริญ ควรเก็บในที่มีอากาศค่อนข้างเย็น จะทำให้ก้อนเชื้อแก่นั้นเสื่อมช้าลงการ

ทำให้เกิดดอก
   
     เมื่อเส้นใยเห็ดหูหนูเจริญเต็มก้อนเชื้อแล้ว การทำให้เห็ดเกิดดอกควรปฏิบัติดังนี

        1. การกรีดถุง ให้ถอดคอขวดพลาสติกออกแล้วรวบปากถุงใช้ยางรัดให้แน่นแล้วใช้มีดคม ๆ กรีดข้างถุงโดยรอบ กรีดเป็นรูปกากบาทเล็ก ๆ หรือเป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ 1 นิ้ว สำหรับเห็ดหูหนูไม่นิยมเปิดปากถุงหรือเปลือยถุง เพราะขนาดดอกที่ออกจะใหญ่ มักไม่เป็นที่นิยมของตลาดและการที่ไม่กรีดเป็นช่วงยาว ๆ ก็เพราะดอกเห็ดที่ออกจะติดกันเป็นแถวยาวตามรอยกรีด และจะมีขนาดดอกไม่เสมอกันตั้งแต่ ขนาดที่เก็บไว้ทานได้จนถึงขนาดที่เริ่มเป็นตุ่ม เวลาเก็บให้หมด เพราะจะอยู่ติดกัน ดอกที่เล็กอยู่และมีโอกาสโตได้อีกจะเสียไป ดูรายละเอียด ขั้นตอน การเปิดดอกเห็ดหูหนู

     2. การวางก้อนเชื้อ อาจวางได้ 2 วิธี คือ
              -  การวางบนชั้น คล้ายกับเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ โดยให้แต่ละถุงห่างกันประมาณ 5-7 ซม. ถ้าวางห่างกันมากเกินไป จะเกิดผลเสียคือสิ้นเปลืองพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์ ความชื้นไม่เพียงพอ เพราะระยะก้อนเชื้อห่างกันมาก จึงทำให้ได้จำนวนถุงน้อยและสิ้นเปลืองเวลา ในการรดน้ำดอกเห็ดที่ได้จะขนยาว ดอกหนา ไม่เป็นที่นิยมของตลาด
               - การวางก้อนเชื้อแบบแขวน วิธีการนี้ตามฟาร์มเห็ดหลายแห่งนิยมกันมาก เพราะไม่ต้องสิ้นเปลืองวัสดุในการทำชั้น โดยใช้ลวดแทงให้ทะลุก้อนเชื้อในแนวตั้งซ้อน ๆ กันเป็นพวง ๆ ละ 10 ถุง และใช้แขวนถุงเห็ดห่างกัน 5-7 ซม. การแขวนก้อนเชื้อจะช่วยลดความเสียหายจากการทำลายของมด แมลงสาบ ฯลฯ ได้มาก

      3. การดูแลรักษาก้อนเชื้อ หลังจากเปิดถุงแล้ว สิ่งที่ต้องระมัดระวังให้มากก็คือความสะอาดมิฉะนั้นแล้ว โรงเรือนอาจเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูเห็ดได้ในการดูแลก้อนเชื้อในโรงเรือนให้ปฏิบัติดังนี้
ในระยะแรกของการรดน้ำ ควรรดเฉพาะที่พื้นที่โรงเรือน เพื่อช่วยให้มีความชื้นเหมาะ ต่อการออกดอกของเห็ดหูหนูเท่านั้น เพราะในระยะแรกตรงบริเวณรอยกรีด เส้นใยจะขาดต้องรอให้เส้นใยเจริญประสานกันก่อน ถ้ารดน้ำไปถูกก้อนเชื้อเห็ดจะออกดอกช้า และถ้าน้ำไม่สะอาด จะทำให้จุลินทรีย์เข้าลายรอยแผลที่กรีดให้เสียหายได้
การให้น้ำก้อนเชื้อ ควรใช้เครื่องฉีดน้ำชนิดเป็นฝอย ฉีดพ่นประมาณวันละ 2 ครั้ง ถ้าอากาศแห้งแล้งให้เพิ่มจำนวนครั้งขึ้นอีก จนกระทั่งเก็บผลผลิต

      4. การเก็บผลผลิต อาจใช้ระยะเวลาในการเก็บประมาณ 2-3 เดือน โดยเห็ดถุงหนึ่ง ๆ ที่หนัก 1 กิโลกรัม จะให้ผลผลิตประมาณ 4-6 ขีด เห็ดหูหนูที่ออกดอกในระยะแรก หมวกดอกจะหนาและโค้งคล้ายถ้วย เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ ของเห็ดจะบางและโค้งเป็นลอน ถ้าใช้มือดึงดอกเห็ดเบา ๆ ดอกเห็ดก็จะหลุดได้ง่าย ควรเก็บเฉพาะดอกแก่ ส่วนดอกที่มีขนาดเล็กให้รอจนกว่าดอกเห็ดโตเต็มที่เสียก่อน

ปัญหาที่มักเกิดกับเห็ดหูหนู
        1. ก้อนเชื้อเสียเนื่องจากมีเชื้ออื่นปะปน มักมีสาเหตุจาก
               - ใช้รำละเอียดเก่าผสมขี้เลื่อย
               - การนึ่งฆ่าเชื้อไม่ได้ที่ โดยเฉพาะการนึ่งแบบหม้อนึ่งลูกทุ่ง ไม่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้หมดและสภาพของก้อนเชื้อก็ เหมาะต่อการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ จึงทำให้เชื้อจุลินทรีย์ชนิด อื่นขึ้นปะปนกับเชื้อเห็ด
               - อาหารเสริมที่เติมลงไปในขี้เลื่อย มีจำนวนมากเกินไป จึงทำให้เชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ เจริญได้ดีกับเชื้อเห็ด
              - สำลีเก่าและเปียกชื้น
              - หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์หรือเขี่ยในห้องที่ลมไม่สงบ
2. เชื้อเห็ดที่ใส่ลงไปในก้อนเชื้อไม่เจริญ สาเหตุจาก
               - หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์หรือมีเชื้อปะปนเข้าไปในถุงก้อนเชื้อ
               - ในกรณีที่ใช้การหมักขี้เลื่อยแต่ไม่สมบูรณ์ เกิดก๊าซแอมโมเนียสะสมในกองปุ๋ยหมักมาก ซึ่งจะไปชะงักการเจริญของเส้นใยเห็ด
               - ความชื้นในก้อนเชื้อชื้นเกินไป ทำให้ขาดออกซิเจน เส้นใยเห็ดจึงเจริญช้าแต่เชื้อแบคที่เรีย เจริญได้ดีจนเชื้อเห็ดไม่สามารถเจริญเติบโตได้
               - การบ่มก้อนเชื้อใช้อุณหภูมิต่ำเกินไป หรือทุบแรงเกินไปในระยะแรกของการเจริญเติบโตทางเส้นใยจะเจริญช้ามาก
3. ก้อนเชื้อมีไรไข่ปลาลักษณะเป็นเม็ดใส ๆ คล้ายไข่ปลาสาเหตุมาจาก
               - ห้องบ่มเชื้อและโรงเรือนไม่สะอาด
               - ไข่ของไรอาจตกค้างอยู่ในขี้เลื่อยหรือหัวเชื้อก็ได้ลักษณะการทำลายของไรศัตรูเห็ด ไร่ไข่ปลา จะทำลายเส้นใยเห็ดในระยะเลี้ยงเชื้อบนอาหารวุ้น ระยะหัวเชื้อและระยะบ่มเส้นใยในถุงพลาสติก โดยจะเริ่มทำลายจากปลายของขอบเส้นใยเข้าไป ทำให้เส้นใยชะงักการเจริญเติบโต ผลคือเส้นใยจะเดินไม่เต็มถุง ปกติไรชนิดนี้ไม่ค่อยระบาดในเห็ดอื่นการป้องกันเมื่อมีการระบาดของไร
     
      1.แนะนำ
              -ใช้สารชีวภัณฑ์ ไมโตฟากัส ผสม กับ พลายแก้วฉีดพ่น ในโรงเรือน และหลังจากกรีดถุงเปิดดอก
       2.ไม่แนะนำ
               - ใช้การรมยาเส้นใยเห็ดในเวลาเลี้ยงเชื้อ ก่อนที่จะเขี่ยเชื้อลงในขวดหัวเชื้อด้วยยารมฟอสฟิน ในอัตรา 1 เม็ด รมนาน 25 ชั่วโมง ในที่รมที่มีปริมาตรขนาด 0.5 ลูกบาศ์เมตร โดยที่เส้นใยเห็ดหูหนูมีอายุ 10 วัน โดยรม 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน
               - ทำการแยกหัวเชื้อใหม่โดยใช้ยาเคลเทน ประมาณ 5 พีพีเอ็ม ลงในอาหารวุ้น ส่วนในขี้เลื่อยควรผสมยาเคลเทนประมาณ 7 พีพีเอ็ม ก้อนเชื้อหลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว ควรฉีดยาฆ่าไรพวกเคลเทน เซฟวิน-85 มาลาไธออน บริเวณก้อนเชื้อและจุกสำลีตลอดจนโรงเรือนทั่วไป
       3.เผาทิ้งหรือทำลายถุงที่มีไรระบาดหนัก
       4. เส้นใยเดินช้าหรือเดินแล้วหยุดสาเหตุเพราะ
               - ขี้เลื่อยมียาง หรือมีสารพิษอื่น ๆ ปะปน เช่น ผงซักฟอก น้ำมัน คลอรีน ฯลฯ
               - หัวเชื้อเสื่อมคุณภาพ
               - ขี้เลื่อยหรือการบรรจุถุงแน่นเกินไป ควรมีช่องว่างให้อากาศเข้าถึงช่วยในการเดินของเส้นใย
               - อุณหภูมิในห้องบ่มต่ำเกินไป หรือความชื้ในถุงไม่เพียงพอ
       5. ก้อนเชื้อหลังจากที่เส้นใยเดินเต็มถุงแล้ว ไม่ออกดอกหรือออกดอกช้าผลผลิตต่ำสาเหตุจาก
              - เชื้อเห็ดเป็นหมันหรือเสื่อมคุณภาพ
              - ความชื้นและอาหารสำหรับเชื้อเห็ดไม่เพียงพอ
       6. แมลงกัดกินก้อนเชื้อมักพบเพราะ
              - สภาพโรงเรือนไม่สะอาด
              - เห็ดหูหนูมีสารล่อแมลงได้
              - การเปิดไฟในโรงเรือนตอนกลางคืนการป้องกัน ก่อนเปิดก้อนเชื้อให้นำก้อนเชื้อมาแช่ น้ำที่ละลายยาฆ่าแมลงที่เกาะตามถุงภายนอกและต้อง หมั่นตรวจความสะอาดภายในโรงเรือน
                     1. ราเมือก มักพบมากในก้อนที่เก่าใกล้หมดอายุ หรือในโรงเรือนทีสกปรก พื้นมีน้ำขัง ก้อนเชื้อจะมีลักษณะผิวหน้านิ่ม และเน่ามีสีเหลือง กลิ่นเหม็น อาจลามขึ้นมาบนดอกเห็ดเป็นลายตาข่าย สีเหลืองเหม็นคาว ทำลายดอกเห็ดให้หัก พับนิ่มเละและอาจเน่า สาเหตุที่เกิดเพราะโรงเรือนไม่สะอาดพอ มีการหมักหมมของเก่าไว้ ราเมือกที่เกิดขึ้นจะลามกินก้อนเชื้ออย่างรวดเร็ว จึงควรทิ้งก้อนเชื้อนั้นเสีย ล้างชั้นวางก้อนเชื้อให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ 70% และโรยปูนขาวบนพื้นโรงเรือน ทิ้งไว้ 2 วัน จึงล้างออก
                      2. ราเขียว ทำให้เส้นใยหยุดชงักการเจริญ เดินไม่เต็มก้อนหรือตายไปเฉพาะส่วนนั้น เพราะราเขียวแย่งอาหารจากเห็ด มักเกิดขึ้นเพราะอากาศร้อน แก้ไขโดยเพิ่มปูนขาวลงในอาหารให้มากขึ้นการ

ทำเห็ดหูหนูแห้ง
       1. คุณภาพของเห็ดหูหนู การที่เห็ดหูหนูจะราคาสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพของดอกเห็ด โดยพิจารณาจาก
                   - ลักษณะของดอกเห็ดควรมีดอกค่อนข้างบาง
                   - ดอกเห็ดควรมีขนสั้นหรือไม่มีขนเลยยิ่งดี
                   - สีของเอกเห็ด ควรมีสีน้ำตาลค่อนข้างดำและออกเป็นเงา
       2. การปรับปรุงคุณภาพของดอกเห็ด การที่จะทำให้เห็ดหูหนูมีคุณภาพดีให้ปฏิบัติดังนี้
                  - การวางถุงให้ชิดกัน จะช่วยให้ดอกเห็ดที่เกิดมีลักษณะบางและให้เก็บเมื่อแก่เต็มที่
                  - สีของดอกเห็ดตามปกติขึ้นอยู่กับพันธุ์และความเข้มของแสง ถ้าแสงมากดอกจะมีสีเข้มถ้าแสงน้อยดอกจะสีซีด
                 - ขนของดอกเห็ด จะสั้นหรือยาวขึ้นกับลมและอากาศ ถ้าเห็นหูหนูถูกลมมาก และอากาศเย็นขนจะยาว ดังนั้น ถ้าจะให้ขนดอกเห็ดสั้นจะต้องระวังอย่าให้ลมโกรกมากเกินไป
        3. วิธีการทำแห้ง หลังจากเก็บเห็ดมาแล้ว ตัดเศษขี้เลื่อยที่ติดมากับโคนดอกออกให้หมด ล้างน้ำให้สะอาด ถ้าดอกเห็ดมีขนมากให้แช่น้ำไว้ก่อน แล้วนำไปใส่ตะแกรงตากแดดจัด ๆ ประมาณ 2-3 แดด โดยหงายด้านหลังขึ้น จะทำให้ขนหลุดได้ง่าย

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิธีการปลูกสตอเบอรี่

การปลูกสตอเบอรี่


วิธีการปลูก
                           จะเริ่มปลูกต้นแม่พันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม ปลูกแบบแถวเดี่ยวห่างจากสันแปลงด้านระดับสูงประมาณ 15 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับวางถุงเพาะชำต้นไหลจากสายไหลที่ทอดลงมา เว้นระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 80 – 90 ซม. ในระยะแรกต้องบำรุงต้นแม่พันธุ์ให้แข็งแรงพร้อมทั้งตัดไหลที่ออกมาทิ้งให้หมด เพื่อให้ต้นแม่พันธุ์แตกกอประมาณ 4 -5 ต้น/กอ ประมาณเดือนกรกฎาคมจึงเริ่มปล่อยให้ต้นแม่พันธุ์แตกไหลได้ตามปกติ หลังจากที่ต้นไหลโตและเริ่มมีตุ่มรากเกิดขึ้น ให้นำถุงพลาสติกขนาด 3 x 5 นิ้ว ที่ใส่วัสดุปลูกจะเป็นดินล้วนหรือดินผสมก็ได้มารองรับต้นไหล แล้วใช้ไม้ไผ่เล็กๆพับกลางเสียบยึดสายไหลให้ติดกับดินในถุงพลาสติก รอจนต้นไหลสร้างรากและแข็งแรงดี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน จึงตัดต้นไหลออกจากต้ตแม่พันธุ์โดยตัดสายไหลที่เจริญมาจากต้นแม่ห่างจากต้นไหลประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันโรคเข้าต้นไหลและใช้ในการจับระดับปลูก ส่วนไหลด้านปลายให้ตัดชิดต้นไหล

พันธุ์สตรอเบอรี่
         การ ปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่ายในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”

ลักษณะทั่วไป
       เป็น ไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”

ขั้นตอนการขยายต้นสตรอเบอรี่แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้
        1.ตัดเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายไหลความยาว 0.5 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่า นำไปเลี้ยงในสูตรอาหารวุ้นสำหรับสตรอเบอรี ถ้าหากใช้เนื้อเยื่อเจริญที่มีความยาวหรือขนาดใหญ่กว่านี้จะทำให้มีเปอร์เซนต์การที่ติดเชื้อไวรัสสูงขึ้น
        2.ประมาณอีก 60 วันเนื้อเยื่อเจริญก็ปรากฏเป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ (Callus) ทำการแบ่งและย้ายลงในอาหารวุ้นใหม่ (สูตรแตกกอ) และขวดที่ใหญ่ขึ้น
        3.ประมาณอีก 40-50 วันจะเห็นเป็นส่วนลำต้นที่มีก้านใบและใบเล็กๆเป็นจำนวนมาก ให้แบ่งแยกออกเป็นต้นๆ ย้ายลงในขวดที่ใหญ่ขึ้นอีกในอาหารวุ้นใหม่ (สูตรเร่งให้เกิดราก) ควรจัดให้มีระยะห่างพอสมควรเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี (อาจทำการแบ่งต้นจากระยะนี้ไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มจำนวนต่อไปตามข้อ 2 ก็ได้
        4.ประมาณอีก 20 วันนำต้นออกจากขวดล้างให้สะอาดปราศจากวุ้น และย้ายลงปลูกในกระบะชำซึ่งใช้ Vermiculite ใหม่ๆเป็นวัสดุปลูก ครอบด้วยโครงพลาสติกเพื่อให้มีความชื้น 80-100% อุณหภูมิคงที่       22-25 ๐C และพรางแสงให้ตลอดช่วงภายในโรงเรือนกันแมลง
5.ประมาณอีก 30 วันย้ายต้นเนื้อเยื่อเหล่านี้ลงในกระถางเล็กที่ใส่ดินผสมวัสดุปลูกผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว และดูแลภายในโรงเรือนกันแมลง


  ต้นแม่พันธุ์แจกเกษตรกร
          เมื่อต้นแม่พันธุ์เหล่านี้ (Foundation stock plant ) เจริญเติบโตได้ขนาดพอเหมาะและมีความแข็งแรงแล้ว ก็สามารถทำการขยายไหลแบบวิธีปกติ(หลังจากผ่านกระบวนการทดสอบโรคไวรัส)ในกระบะที่อบดินภายในโรงเรือนกันแมลง เพื่อให้ได้ต้นไหลรุ่นที่หนึ่ง และนำต้นไหลที่ได้ไปขยายพันธุ์ในแปลงภายนอกโรงเรือนต่อไปอีกสองรุ่น ต้นไหล (Certified plant) ที่ได้หลังจากนี้ เกษตรกรก็สามารถนำไปใช้เป็นต้นแม่พันธุ์เพื่อขยายเป็นต้นสำหรับปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิต


                                                     ต้นที่ขยายจากต้นแม่พันธุ์ปลอดโรค

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยการติดตา


                   วิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยการติดตา

        สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมจะมาบอกถึงวิชาการขยายพันธุ์พืชซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาที่เราเคยเรียนกันมาแล้วเมื่อสมัยยังเป็นเด็ก คนที่สนใจ อาชีพเกษตรกรรม ก็ต้องรู้วิธีขยายพันธุ์เหล่านี้ด้วยเช่นกันซึ่งเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่ต้องใช้เมล็ด โดยการขยายพันธุ์แบบที่ไม่ต้องใช้เมล็ดนั้นจะมีด้วยกันอยู่ไม่กี่อย่าง ทาบกิ่ง ต่อกิ่ง ปักชำ ตอนกิ่ง ติดตา ซึ่งแต่ละวิธีก็สามารถใช้กับพืชได้หลากหลายแล้วแต่สถานการณ์และความเหมาะสมของพืชที่เราจะทำการขยายพันธุ์ด้วย

องค์ประกอบหลักๆในการขยายพันธุ์โดยที่ไม่ต้องใช้เมล็ดมีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือ

1.กิ่งพันธุ์ ซึ่งต้องได้มาจากต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพและมีความโดดเด่นในสายพันธุ์ของตัวเอง
2.ต้นตอ คือต้นไม้ที่จะเอากิ่งพันธุ์ไปปลูกต่อเพื่อให้ได้ต้นที่แข็งแรงต้นตอจะต้องเป็นต้นตอที่สมบูรณ์ด้วยเช่นกันซึ่งการติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง จะใช้ต้นตอต้นอื่นก็ได้ เรียกว่าการอาศัยรากจากต้นอื่น แต่ถ้าเป็นแบบปักชำ และตอนกิ่งเราจะเรียกว่า อาศัยรากของตัวเองเป็นต้นตอ




วิธีทำการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา

เครื่องมือที่ต้องมีในการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เมล็ด

กรรไกรตัดกิ่ง
มีดขยายพันธุ์หรือมีดคัดเตอร์
ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ หรือทรายหยาบ
ถุงพลาสติกใส
เชือกฟาง
ฮอร์โมนเร่งการออกราก
       ใช้มีดกรีดเปลือกของต้นไม้อย่างประณีต

วิธีการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา

การขยายพันธุ์ด้วยการติดตานั้นจะมีลักษณะในการทำคล้าย ๆกับกับการตอนกิ่ง เพียงแต่การติดตานั้นจะควั่นเปลือกของกิ่งต้นพันธุ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การติดตาเป็นการใช้ตาใบจากิ่งมาทำเป็นการติดกับต้นตอ โดยไม่ใช้กิ่งเหมือนกับการต่อกิ่ง เป็นการประหยัดในกรณีที่มีกิ่งพันธุ์ดีน้อย ตานั้นจะเจริญไปเป็นยอดใหม่

วิธีการติดตานี้เหมาะสำหรับพืชที่อายุน้อยหรือกิ่งเล็ด นิยมในการขยายพันธุ์ไม้ผลซะเป็นส่วนใหญ่



แล้วก็เอาตามาติดซึ่งต้องเป็นตาที่ได้มาจากต้นพันธุ์ที่ดี


วิธีการติดตาแบบตัวที

               วิธีการขยายพันธุ์แบบ ติดตา ให้เป็นรูปตัวทีนั้นจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการติดตาแบบรูปโล่ก็ได้เพราะลักษณะของแผลที่ทำการกรีดจะมีลักษณะคล้ายกับโล่และรูปตัวทีอย่างแรกในการติดตาก็คือต้องเลือกต้อตอที่สมบูรณ์ซะก่อน

1.เลือกต้นตอที่สมบูรณ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดและมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปีมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วหรือถ้ากะ ๆก็ประมาณแท่งดินสอนั่นเอง
2.กรีดต้นตอดามยาวลงมาโดยมีความยาวประมาณ 1 ถึง 1.5 เซนติเมตร และกรีดในแนวขวางเหนือแผลที่เรากรีดไว้แล้วเล็กน้อย
3.หลังจากนั้นก็ใช้มีดเซาะเปลือกที่เรากรีดไว้ออกมาในทางยาวโดยเซาะออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นวิธีนี้ต้องค่อย ๆทำใจเย็น ๆนะครับ
4.จากนั้นเลือกกิ่งตาที่สมบูรณ์ เป็นกิ่งตาใบ โดยส่วนมาแล้วจะเลือกกิ่งต้นพืชที่อยู่ด้านในเพราะว่าด้านนอกจะเป็นกิ่งดอกเสียมาก กิ่งตาที่ดีจะอยู่บริเวณกลางกิ่ง และโคนกิ่ง เฉือนตาออกมาเป็นแผ่นรูปโล่ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา
5.นำแผ่นตาที่เราได้มาจากข้อ 4 มาสอดเข้าไปในร่องที่เราทำเตรียมไว้ในต้นตอซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัวที เมื่อสอดเข้าไปในร่องแผลต้นตอเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จัดให้แนบกับเนื้อไม้ให้สนิท อาจจะตัดส่วนของแผ่นตาที่เกินรอยแผลด้านบททิ้งก็ได้เช่นกัน
6.หลังจากนั้นก็เอาพลาสติกใสมาพันให้แน่นโดยการพันจะต้องพันจากล่างขึ้นบนเสมอเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าไป หากผ่านไป 2 ถึง 3 อาทิตย์แล้วตายังเขียวอยู่แสดงว่าการติดตาสมบูรณ์


http://www.thaiarcheep.com

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

   1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง 
   2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
   3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช
   4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10–15 นาที
   5. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง
   6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์
   7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปีรหัสแล้วนำไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป







ขั้นตอนการนำพืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกปลูก

           ก่อนเข้าถึงขั้นตอนการดูแลหรืออนุบาลพืชเนื้อเยื่อระยะต่างๆ ควรมีการปรับสภาพให้เริ่มเรียนรู้และค่อยๆ ปรับตัว
อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติได้ โดยเพิ่มความเข้มแสง ลดความชื้นในภาชนะลง อาจใช้วิธีนำขวดเนื้อเยื่อพืชออกมา
วางในสภาพอุณหภูมิห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกแต่ไม่ควรให้เนื้อเยื่อพืชได้รับแสงแดดโดยตรงในระยะเวลา 2-3 วันแรก
ตามลำดับ ดังนี้
             1.ปรับสภาพเนื้อเยื่อพืช 2-3 วัน ก่อนปลูกในสภาพอุณหภูมิห้องปกติที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
             2.นำพืชออกจากภาชนะที่ได้จากการเพาะเลี้ยงด้วยฟอร์เซบหรือปากคีบ
             3.ล้างอาหารวุ้นที่ติดอยู่บริเวณรากออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด
             4.นำต้นพืชแช่ในสารป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย เป็นเวลา 3-5 นาที ก่อนปลูก เพื่อป้องกันโรคต้นเน่าเนื่องจาก
พืชยังอ่อนแอต่อการทำลายของเชื้อโรค



     การปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 


                1. การเตรียมแปลงปลูก ควรไถดินตากไว้ประมาณ 7-15 วัน แล้วไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง เพื่อกำจัดศัตรูพืช และให้ ดินร่วนซุย สะดวกในการย้ายปลูกต้นหน่อไม้ฝรั่ง หากดินมีความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 6.0 ควรหว่านปูนขาวอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ในดินร่วนปนทราย หรืออัตรา 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ ในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย แล้วไถกลบ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2-4 ตันต่อไร่
               2. การปลูก เนื่องจากต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขยายกอเร็วกว่าต้นกล้าที่ได้จากการเพาะ จากเมล็ด ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับต้นกล้า ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ 80x150 เซนติเมตร การจัดการเพื่อความสมบูรณ์ของต้น
               1. การใส่ปุ๋ย
                   -ระยะย้ายปลูก ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 300-500 กรัมต่อหลุม เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น หน่อไม้ฝรั่ง แล้วดินหนา 3-5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้รากสัมผัสกับปุ๋ยโดยตรง
                   -ระยะการเจริญเติบโต เมื่อย้ายกล้าปลูกแล้ว 1 เดือน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และให้อีกทีทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-5-20 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ทุกเดือน เมื่อต้น หน่อไม้ฝรั่ง เริ่มให้ผลผลิต ควรพูนโคนทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันมิให้ดินปลูกบริเวณ
โคนต้นยุบตัวลง ซึ้งจะทำให้ ระบบรากตื้น และลำต้นล้มง่าย

             2. การให้น้ า ควรให้น้ าวันละ 1 ครั้ง หลังการย้ายปลูก และเปลี่ยนเป็น 3-5 วันต่อครั้ง หรือหากหน่อไม้ฝรั่งตั้งตัวได้แล้ว ควรตรวจสอบความชื้นในดินด้วย ก่อนการเก็บผลผลิตประมาณ 10 วัน ควรให้น้ าอย่างสม่ าเสมอถ้าขาดน้ าผลผลิตจะ ลดลง

             3. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 3.1 โรคลำต้นไหม้ ลักษณะเป็นแผลยาวแนวเดียวกับลำต้นสีม่วง หรือสีน้ำตาลเมื่ออาการรุนแรงแผลจะขยาย มาเชื่อมกันทำให้ลำต้นแห้งเป็นทางยาว โรคนี้เกิดได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อพบอาการของโรค ควรถอนต้นที่ เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร และควรหยุดฉีด พ่นสาร 14 วันก่อนการเก็บเกี่ยว 3.2 โรคใบและกิ่งไหม้ ลักษณะแผลมีรูปร่างไม่แน่นอน สีม่วงอมน้ำตาลพบบนปลายกิ่งแขนงและใบเทียม อาการรุนแรงทำให้ใบเทียมร่วงและกิ่งแห้งตาย พบได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เมื่อพบอาการของโรค ควรถอน ต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ า 20 ลิตร ควร หยุดฉีดพ่นสาร 14 วันก่อนการเก็บเกี่ยว หรือ สารแมนโคเซบ 85% ดับบิวพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร พ่นเมื่อพบ โรคแล้วพ่นซ้ำทุก 5-7 วันและควรหยุดพ่นสาร 7 วันก่อนการเก็บเกี่ยว5 3.3 โรคแอนแทรคโนส ลักษณะแผลเป็นวงสีน้ำตาลหรือเทาดำซ้อนกันตามความยาวของต้น อาการรุนแรง จะท าให้ส่วนที่เป็นโรคยุบตัวลงทำให้ลำต้นลีบและแห้งตาย เมื่อพบอาการของโรค ควรถอนต้นเผาท าลาย แล้วพ่นสารคอป เปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ในช่วงฤดูฝน  


http://www.aopdt01.doae.go.th/KM

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอข้าวโพด

การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอข้าวโพด


การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอข้าวโพดมีขั้นตอนดังนี้

1. นำฝักข้าวโพด ที่มีอายุ 12-14 วันหลังจากการผสมเกสรมาฟอกฆ่าเชื้อโดยแช่ในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อผสมกับคลอรอกซ์ 15 เปอร์เซ็นต์ และทวีน 20 2-3 หยด เขย่าเป็นเวลา 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วอีก 2 ครั้ง
2.ใช้ปลายมีดฝานส่วนปลายเมล็ดทิ้งไปประมาณ 1/3 แคะเอ็มบริโอของข้าวโพด 30 เอ็มบริโอ ออกมาเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร N6 ที่เติม NAA 0.5 มก./ล. 2,4-D 2.0 มก./ล. น้ำตาลซูโครส 20 ก./ล. และวุ้น phytagel 2.6 ก./ล. (Chu, 1975) ที่บรรจุอยู่ในจานแก้ว (petridish)




3.นำไปเก็บในที่มืด อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 วัน เมื่อเอ็มบริโอเริ่มพัฒนาเป็นต้นอ่อนมียอดยาวประมาณ1 เซนติเมตร ย้าย petridish ไปวางบนชั้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ภายใต้สภาพที่มีแสงจากหลอด Grolux และ Cool white ที่ความเข้มแสง 3,000 ลักซ์ 16 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 6 วัน

4.เตรียมขวดอาหารที่ใส่ Growth medium (GM) ที่เติม IBA 1 มก./ล. และน้ำตาลซูโครส 25 ก./ล. ใช้ vermiculite เป็นวัสดุค้ำจุนโดยตวง GM 45 มิลลิลิตร ใส่ในขวดที่มี vermiculite 3.3 กรัม ย้ายต้นอ่อนข้าวโพดลงในขวดในสภาพปลอดเชื้อ ขวดละ 2 ต้น ปิดฝาซึ่งเจาะรูตรงกลางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร อุดรูด้วยสำลีเพื่อเพิ่มการถ่ายเทอากาศภายในขวดเพาะเลี้ยง วางขวดบนชั้นเพาะเลี้ยงเพื่อชักนำให้มีการเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์


5.หลังจากนั้น 18-20 วัน เมื่อต้นข้าวโพดมีใบโตเต็มที่ 3 ใบ มีรากยาวพอสมควร ย้ายต้นออกมาล้าง vermiculite ออกจากรากให้หมด จากนั้นย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกที่มีส่วนผสมของ ดิน : ทราย : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงย้ายปลูกลงแปลง เพื่อดูการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมภายนอก




วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้

                 
การเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้หรือที่เรียกกันว่า "การปั่นตา" เป็นการขยายพันธุ์กล้วยไม้ที่ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะพันธุ์เหมือนเดิมเป็นปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว โดยการนำเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของกล้วยไม้ เช่น ตายอด ตาข้าง ปลายใบอ่อน มาเลี้ยงด้วยอาหารสังเคราะห์ ในสภาพปลอดเชื้อและมีการควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตต้นที่ได้จากการขยายพันธุ์วิธีนี้อาจมีโอกาสกลายพันธุ์ไปในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลงแต่ก็พบได้ยากระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงนำไปปลูกได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 10 เดือน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลานานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ ความสมบูรณ์ของหน่อ เทคนิคในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สูตรอาหารสังเคราะห์ และสภาพแวดล้อม







ขั้นตอนการเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้

เลือกชิ้นส่วนของกล้วยไม้ที่มีเนื้อเยื่อเจริญที่สามารถพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้ เช่น กล้วยไม้สกุลหวายใช้หน่ออ่อน ตาข้าง ตายอด ดอกอ่อน กล้วยไม้คัทลียาใช้หน่ออ่อน ตาข้าง ตายอด ปลายใบอ่อน กล้วยไม้สกุลแวนด้าและลูกผสมใช้ยอดอ่อนที่มีตาข้างและตายอด ช่อดอกอ่อน เป็นต้น

ฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวชิ้นส่วนกล้วยไม้ให้ปลอดเชื้อจุลินทรีย์ก่อนตัดส่วนเยื่อเจริญออกไปเพาะเลี้ยง การเลี้ยงชิ้นส่วนหรือตาในระยะแรก เมื่อฟอกฆ่าเชื้อแล้วใช้มีดเจาะตาขนาดเล็กไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร

นำไปเลี้ยงในอาหารเหลวหรืออาหารแข็งสูตรที่เหมาะสม ตาจะมีโปรโตคอร์ม (protocorm) สีเขียวแตกออกมารอบๆระยะนี้ต้องเปลี่ยนอาหารทุกสองสัปดาห์ การเพิ่มจำนวนโปรโตคอร์มโดยคัดเลือกโปรโตคอร์มที่เป็นก้อนกลมไม่มีใบยอด ไปเลี้ยงในอาหารสูตรที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มจำนวนโปรโตคอร์ม

ถ้าโปรโตคอร์มพัฒนาเป็นยอดต้องตัดยอดทิ้งเพื่อให้เกิดการแตกโปรโตคอร์ม การเลี้ยงโปรโตคอร์มให้เป็นต้น

เมื่อได้จำนวนโปรโตคอร์มตามต้องการแล้ว ย้ายไปเลี้ยงในอาหารแข็งสูตรที่เหมาะสมให้โปรโตคอร์มแต่ละหน่วยเจริญเติบโตเป็นต้นกล้ามีใบยอดและราก เมื่อต้นสูงประมาณ 2-3 เซนติเมตร ก็คัดแยกแต่ละต้นย้ายไปเลี้ยงในวุ้นอาหารสูตรถ่ายขวดประมาณ 50 ต้นต่อขวด เพื่อให้เจริญเติบโตแข็งแรง พร้อมที่จะนำออกปลูกภายนอกได้


http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=13&id=4105#

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

เรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย


วันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย
            การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็น เทคโนโลยีทางชีวภาพที่มีการนำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชให้มีปริมาณมากๆ ได้พืช
พันธุ์ดีที่ปลอดโรคและให้ผลผลิตสูง ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ใช้ชิ้นส่วนของพืช
ชื้นส่วนที่เรานำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ลำต้น ตายอดตาข้าง ก้านช่อดอก ใบ ก้านใบ มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ภายใต้สภาพที่ควบคุมเรื่อง ความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เมื่อชิ้นส่วนนั้นเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ มีทั้งส่วนใบ ลำต้นและรากที่สามารถนำไปปลูกในสภาพธรรมชาติได้
ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
           สามารถผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็วและต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรคและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่คือ มีลักษณะตรงตามพันธุ์ด้วยการใช้เทคนิคของการเลี้ยงจากชิ้นตาพืชให้พัฒนาเป็นต้นโดยตรง และมีขนาดสม่ำเสมอ จึงให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้คราวละมากๆ พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
           คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง ลูกโตให้หวีต่อเครือมากและตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกเรื่อง กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่และปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย กล้วยเป็นพืชที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมานาน ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ทำการคัดสายพันธุ์กล้วยที่มีคุณภาพดีเพื่อนำมาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและส่งเสริมแก่เกษตรกรที่มีความต้องการปลูกกล้วยพันธุ์ดี มีความต้านทานโรค รสชาติดีและให้ผลผลิตได้อย่างพร้อมเพรียงกัน
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง ลูกโตให้หวีต่อเครือมาก
2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช
4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10 -15 นาที
5. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ากลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง
6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์ 
7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี รหัส แล้วนำไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป 
การขยายพันธุ์กล้วย
1.การแยกหน่อ โดยการขุดแยกหน่อที่แทงจากต้นแม่ขึ้นมาขยายพันธุ์ต่อ




2. การผ่าหน่อ โดยการขุดหน่อที่มีอายุประมาณ 2-3 เดือน นำมาผ่าออกเป็น 4-6 ชิ้นต่อหน่อแล้วนามาเพาะในวัสดุเพาะชำ


3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการขยายพันธุ์ที่สามารถทำให้ได้ต้นกล้าจำนวนมาก การคัดเลือกต้นพันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อควรมีลักษณะที่ดี แข็งแรง ต้านทานโรคแมลงรบกวน ลูกโต จำนวนหวีต่อเครือมาก เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดีตามต้องการและจำนวนมากคุ้มค่าต่อการลงทุนโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือน นับตั้งแต่นำหน่อเข้าห้องปฏิบัติการ เมื่อได้ต้นกล้าตามจำนวนที่ต้องการแล้ว จึงนำออกมาอนุบาลภายในโรงเรือนประมาณ 60 วัน 





การปลูกและการดูแลรักษา
1. ควรเตรียมหลุมปลูก กว้างxยาวxลึก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 1 กิโลกรัม
ต่อต้น
2. ระยะการปลูก กล้วยน้ำว้าใช้ระยะ 3x3 เมตร จะปลูกได้ 200 ต้นต่อไร่ แต่กล้วยหอมทองใช้ระยะ 2x2 เมตร ปลูกได้ 400 ต้นต่อไร่
3. การให้น้ำในระยะแรกควรให้น้ำวันเว้นวัน หลังจากกล้วยสามารถตั้งตัวได้แล้วจึงเปลี่ยนเป็นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4. การใส่ปุ๋ย ในระยะแรกนิยมใช่ปุ๋ยคอกและหลังจากการปลูกได้ 2 เดือน จึงใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 60 กรัมต่อต้น ทุกเดือนหลังจากกล้วยออกปลีแล้ว จะใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 500 กรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังจากครั้งแรก 1 เดือน
5. การกำจัดวัชพืช สามารถกาจัดได้หลายวิธี คือ
-วิธีกล ได้แก่การถอน ตายหรือการถากด้วยจอบ ควรทาการกาจัดก่อนที่วัชพืชจะออกดอก
-วิธีเขตกรรม โดยการปลูกพืชแซมที่มีระบบรากตื้นและสามารถ ใช้ลำต้นเป็นปุ๋ยได้ เช่นพืชตระกูลถั่ว
-ใช้วิธีคลุมดินโดยคลุมหน้าดินด้วยใบกล้วยหลังการตัดแต่งใบ ใช้ฟางข้าวคลุมตั้งแต่เริ่มปลูก
6. การตัดแต่งหน่อ หลังจากการปลูกกล้วยได้ 3-4 เดือนให้ตัดหน่อทิ้งจนกว่ากล้วยจะเริ่มออกปลีหลังจากกล้วยมีอายุ 7 เดือน จึงเริ่มไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยหน่อที่1 และที่ 2 ควรมีอายุห่างกัน 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเลือกหน่อที่อยู่ตรงข้ามกัน หากหน่อที่ตัดมีขนาดใหญ่มาก ให้ใช้วิธีการทำลายโดยหยอดน้ำมันก๊าดลงบนหยอดประมาณ 1/2 ช้อนชา
7. การตัดแต่งใบจะเริ่มตัดแต่งใบ ในช่วงกล้วยอายุประมาณ 5 เดือน หลังจากการปลูกโดยเลือก ตัดใบที่แก่เป็นโรคออกให้เหลือ 9-12 ใบ/ต้น
8. การตัดปลี ให้ทาการตัดปลีกล้วยทิ้งหลังจากปลีบานต่อไป จนหวีตีนเต่าอีก 2 ชั้น เพื่อสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว
9. การค้ากล้วย นิยมค้าในกล้วยหอมเป็นส่วนใหญ่ เพื่อป้องกันการหักกลางลาต้น หลังจากการตกเครือ ควรค้ำ บริเวณเครือหรือใช้ไม้ดามลาต้นโดยตรง